02 290 8500 สำรวจพื้นที่ฟรีที่เบอร์ หรือ ติดต่อเรา

โรคระบาดที่มีแมลงพาหะนำโรค

เราปกป้องบ้านและทรัพย์สินของคนไทยจากสัตว์รบกวนมามากกว่า 38 ปี

พนักงานบริการทุกคนได้รับการอบรมและผ่านการรับรองในการกำจัดสัตว์รบกวน

นวัตกรรมการกำจัดปลวกและสัตว์รบกวนของเรามีประสิทธิภาพสูง

โรคที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค สร้างภาระให้กับระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งในระดับบุคคลและระดับชาติ ผู้คนนับล้านได้รับผลกระทบโดยตรงจากการติดเชื้อ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอ่อนแรง เป็นไข้ อาเจียน และพิการ เช่น ตาบอด เป็นต้น

คุณทราบหรือไม่ว่า หมัด เป็นสาเหตุหลักของกาฬโรค?

คนประมาณ 8 ล้านคนทั่วโลกติดเชื้อชากาส ซึ่งมีสาเหตุจาก แมลงมวนเพชรฆาต (Triatomine Bug)

 องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า แต่ละปีจะมีผู้ติดเชื้อไวรัสเดงกีทั่วโลกประมาณ 50 - 100 ล้านคน

 

หากเกิดโรคระบาดขึ้น ระบบสาธารณสุขของเราต้องรับภาระอย่างหนัก เนื่องจากคนจำนวนมาก จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์กรต่างๆ อาจต้องหยุดงาน ดังนั้น การดูแลสุขอนามัยที่ดี รวมถึงการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค จึงควรทำอย่างสม่ำเสมอ สำหรับธุรกิจ หรือองค์กรต่างๆ หากปล่อยไว้อาจประสบปัญหาทางธุรกิจและเสียชื่อเสียงจากปัญหาการปนเปื้อนของแมลง

ประชากรเกือบ 1/2 ของโลกมีความเสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย โดยมียุงเป็นสาเหตุหลักของโรคนี้

มีการรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ประมาณ 30,000 รายต่อปี

ไข้เหลือง ทำให้ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30,000 รายทั่วโลก โดย 90% เกิดขึ้นในแอฟริกา

 

ด้วยความร่วมมือของชุมชนระหว่างประเทศ การระบาดของโรคในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งลดลงอย่างชัดเจน จำนวนผู้ป่วยโรคเหงาหลับแอฟริกัน (African trypanosomiasis) ลดลงถึง 90% และคาดว่าโรคเท้าช้างจะถูกขจัดหมดสิ้นใน 6 ประเทศตามรายงานขององค์การอนามัยโลก WHO (2558) ที่กำลังศึกษาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อยืนยันผล นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือเพื่อกำจัดโรคสำคัญอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบกับผู้คนนับล้าน เช่น ไข้มาลาเรีย (Malaria) และโรคชากาส (Chagas disease)

โรคลัยม์ เป็นโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ และมักพบในบริเวณซีกโลกเหนือ

มี 2 ชนิดคือไข้เห็บกัดโคโลราโด และ ไข้เห็บกัดแอฟริกัน

แม้ว่าแมลงสาบจะไม่ได้เป็นตัวแพร่เชื้อโรค แต่เป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาของโรคหอบหืด

 

การนิ่งเฉย ไม่ตระหนักและป้องกันตัวเองจากสัตว์พาหะนำโรค ทำให้โรคหลายชนิดที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปกลับมาระบาดซ้ำ อย่างไรก็ตามในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มีการพัฒนาและใช้ยาฆ่าแมลงอย่างแพร่หลาย ทำให้โรคหลายชนิดได้รับการควบคุมอย่างตรงจุดและประสบผลสำเร็จ

แต่เมื่อโรคระบาดสงบลง การตระหนักถึงการควบคุม-กำจัดสัตว์รบกวนก็ถูกละเลย รวมถึงการจัดการและป้องกันขั้นพื้นฐานก็หายไปด้วย โรคที่เคยเกือบจะหายไปก็กลับมาอีกครั้ง แถมหนักและรุนแรงขึ้นอีกด้วย ทำให้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานระดับประเทศไปจนถึงระดับนานาชาติ เพื่อเริ่มต้นควบคุมแมลงและสัตว์พาหะเหล่านี้อีกครั้ง

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความใส่ใจเพื่อพัฒนานโยบายด้านสาธารณสุข กีฏวิทยา การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค ฯลฯ เป็นบริการที่จำเป็นอย่างมาก

โทรหาเราวันนี้ที่เบอร์ 02 290 8500 หรือ 1800 225 226 (โทรฟรี) หรือติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อปรึกษาปัญหาสัตว์รบกวนที่คุณพบ เราจะติดต่อท่านกลับภายใน 2 ชั่วโมง

เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น ไข้เทรนช์ โรคแมวข่วน และโรคแคเรียน

ยุง เป็นสาเหตุของการแพร่เชื้อไข้ชิคุนกุนยาที่ทำให้คนเจ็บป่วยได้เช่นกัน

อหิวาตกโรค แพร่เชื้อโดยแมลงวันที่ปนเปื้อนในอาหารและแหล่งน้ำ

 

ด้วยสภาวะอากาศและสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โรคชนิดใหม่จึงพบได้ง่ายขึ้น เช่น จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้นถึง 30 เท่าในห้าทศวรรษ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมแบบสังคมเมืองได้กระจายไปทั่วประเทศกำลังพัฒนา พบโรคบางชนิดที่เคยถูกจำกัดด้วยขอบเขตทางกายภาพและภูมิอากาศในพื้นที่อื่น แต่พวกมันถูกนำพาไปทั่วโลกผ่านทางการค้า การโยกย้ายถิ่นฐาน และการเดินทาง

ไข้รากสาดใหญ่ มีแนวโน้มจะเกิดในพื้นที่แออัดและสุขอนามัยไม่ดี เนื่องจากมีเหาเป็นพาหะหลัก

แพร่กระจายผ่านการกัดของแมลงวันทรายเพศเมีย แต่ละปีมีผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนี้ประมาณ 310 ล้านคน

 

ยุงลายเสือ หรือ Aedes albopictus เป็นสายพันธุ์ยุงที่แพร่กระจายในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นสัตว์พาหะนำโรคหลายชนิดทั้ง ไข้เลือดออก ไข้เวสต์ไนล์ และไข้สมองอักเสบ โดยแพร่กระจายได้ดีบริเวณนอกสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติในเอเชียใต้และตะวันออก ปัจจุบันพบในอเมริกาเหนือและใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย และตอนใต้ของยุโรป โดยผ่านทางการซื้อขายยางรถยนต์ที่ใช้แล้ว และถือว่าเป็นสายพันธุ์รุกรานต่างถิ่นที่ถูกจัดอยู่ใน World’s Worst Invasive Alien Species ขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ในปี 2558 ออสเตรียมีรายงานผู้ป่วยไข้เวสต์ไนล์รายแรก และมีรายงานผู้ป่วยในอิตาลี บัลแกเรียและโรมาเนีย อิสราเอลและเซอร์เบีย นอกจากนี้ยุงลายเสือยังเป็นสัตว์พาหะที่มีการเฝ้าระวังโดยโครงการ VectorNet ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป (European Centre for Disease Prevention and Control)

มักพบบริเวณวงแหวนเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง อินเดียและจีน

โรคไข้คิว เป็นโรคที่ติดต่อผ่านของเหลวจากสัตว์ที่ติดเชื้อ

มีเห็บเป็นสัตว์พาหะ พบมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา

 

เราทราบกันดีถึงผลกระทบจากโรคติดต่อหลายชนิดในประเทศเขตร้อนและประเทศกำลังพัฒนา แต่โรคหลายชนิดจากประเทศพัฒนาแล้วเริ่มมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาวะโลกร้อน เช่น โรคหอบหืด ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่ออาการแพ้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้งจากไรฝุ่น แมลงสาบ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า มีผู้ป่วยโรคหืดราว 235 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโรคหืดมากที่สุดคือเด็ก โรคหอบหืดถือเป็นสาเหตุหลักในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็ก ดังนั้นโรคที่มีแมลงเป็นพาหะจึงส่งผลกระทบที่สำคัญทั้งต่อคน บริการสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา

 

 สาเหตุจากแมลงสาบและแมลงวันพร่กระจายเชื้อโรคนี้

 ติดต่อจากแมลงวันและแมลงสาบพบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดี

 โรคทูลารีเมีย สามารถติดต่อได้หลายทาง โดยการติดต่อแต่ละรูปแบบจะเกิดอาการที่ต่างกัน

ติดต่อเรา

* Required field

Download this report

การติดต่อของโรค

โรคที่มีแมลงเป็นพาหะ สามารถติดต่อได้สองทางทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ดังนี้

  • ทางชีววิทยา: จุลชีพก่อโรคอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์ และเติบโตตามวงจรชีวิตก่อนจะถ่ายโอนไปยังสัตว์ตัวใหม่ โดยผ่านการกัดเพื่อดูดกินเลือด ในบางกรณีเชื้อโรคถูกถ่ายทอดโดยสัตว์ขาปล้อง (Arthropod) ผ่านการขับถ่ายลงบนผิวหนังคนหรือถูกบี้และถูไปยังรอยกัดหรือแผล หรือผ่านทางปาก ตา และจมูก ด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • ผ่านกลไกการสัมผัส: แมลงวัน แมลงสาบ และแมลงปีกแข็งจำพวกด้วง นำพาเชื้อโรคติดตัวมันจากการสัมผัสสิ่งสกปรก ของเสีย และวัตถุปนเปื้อน หรือการกินสิ่งเหล่านั้น เชื้อถูกนำสู่ร่างกายผ่านการสะสมของเสีย การสำรอก หรือการนำออกนอกร่างกายมายังพื้นผิวและผลิตภัณฑ์อาหารในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

แมลงสาบและแมลงวันบ้านที่พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์เป็นแมลงที่ไม่กัดคน แต่เป็นสัตว์พาหะนำเชื้อแบคทีเรีย รา หนอนพยาธิ โปรโตซัว และไวรัสหลายชนิด โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา สามารถพบแมลงเหล่านี้จำนวนมากในโรงพยาบาล ร้านขายผลิตภัณฑ์อาหาร บ้านเรือน ที่อยู่สัตว์ และภัตตาคาร อีกทั้งยังเป็นสัตว์นำเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและบิด เช่น เชื้อสายพันธุ์ซาลโมเนลลาและชิเกลลา รวมทั้งสายพันธุ์ที่ดื้อยาอีกด้วย

กาฬโรค (Plague)

แมลง: หมัดหนูเมืองร้อน (Oriental Rat Flea)

เชื้อ: แบคทีเรีย Yersinia pestis

แบคทีเรียกาฬโรคถ่ายทอดสู่มนุษย์ได้หลายทาง

  • หมัดกัด
  • การทำงานสัมผัสสัตว์ อวัยวะ และของเหลวจากสัตว์นำโรค รวมถึงดินและพื้นผิวที่ปนเปื้อนต่างๆ
  • ฝุ่นละอองในอากาศที่มีเชื้อโรค ซึ่งมาจากการไอของมนุษย์หรือสิ่งของที่มีเชื้ออยู่

หนูท่อเป็นสัตว์พาหะหลักของโรคระบาดที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ชนิดนี้ โดยคร่าชีวิตผู้คนนับล้านหลังจากที่มันถูกนำพามาตามเส้นทางการเดินทางและการค้าทางทะเล ในยุคปัจจุบัน พบกาฬโรคในอัตราที่ต่ำ กระจายอยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและผู้ล่าของมันในหลายภูมิภาคของเอเชีย แอฟริกา อเมริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา

กาฬโรคแบ่งออกเป็นสามชนิดตามการรับเชื้อ ดังนี้

  • กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) : สัญญาณของโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการบวมและเจ็บต่อมน้ำเหลือง (buboes) ซึ่งแบคทีเรียอาจเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายหากไม่ได้รับการรักษา นอกจากนั้นยังมีอาการไข้ขึ้นเฉียบพลัน และอ่อนเพลียรุนแรง
  • กาฬโรคในกระแสเลือด (septicemic plague) : อาการไข้ อ่อนเพลียรุนแรง ท้องร่วง ภาวะเพ้อ ปวดท้อง ช็อก และเลือดออกในผิวหนังหรืออวัยวะอื่นๆ ผิวหนังและเนื้อเยื่อจะกลายเป็นสีคล้ำดำและตาย โดยเฉพาะบริเวณปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และปลายจมูก
  • กาฬโรคปอด (pneumonic plague) : อาการไข้ ช็อก ปอดบวม ทำให้หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอ และมีเมือกเป็นเลือด

กาฬโรครักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาน้อยกว่าสองสัปดาห์ สำหรับกาฬโรคในกระแสเลือด ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตก่อนปรากฏอาการ ส่วนกาฬโรคปอด ผู้ป่วยทุกรายที่ไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิต

 

เรียนรู้วิธีสังเกตสัญญาณของหมัด

ศึกษาบริการกำจัดหมัด

โรคชากาส (Chagas disease)

แมลง: มวนเพชรฆาต (Triatomine Bug)
เชื้อ: โปรโตซัว Trypanosoma cruzi

โรคชากาส มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคอเมริกันทริพาโนโซม (American trypanosomiasis) มีแมลง 150 สายพันธุ์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกมากกว่า 100 สายพันธุ์ที่เป็นพาหะของปรสิตโปรโตซัวชนิดนี้ โรคนี้ถูกจัดโดยองค์การอนามัยโลกว่าเป็นโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย มีผู้ติดเชื้อ 8 ล้านคน ส่วนใหญ่จะพบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และมีผู้เสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนของโรค 10,000 ราย

ทั้งตัวเต็มวัยและตัวอ่อน ตัวผู้และตัวเมีย เป็นสัตว์กินเลือดทั้งหมด มันจึงหามนุษย์เพื่อเป็นที่อยู่และแหล่งอาหาร โดยมักจะกัดบริเวณนอกร่มผ้า เช่น ใบหน้า โดยมันจะนำปรสิตมากับมูลของมัน และติดไปกับผิวหนังมนุษย์เมื่อมันกินเสร็จแล้ว หากคนถูผิวหนังบริเวณที่ปนเปื้อนนั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ จะทำให้โปรโตซัวหลุดเข้าไปในรอยกัด บาดแผล ตา หรือปาก เชื้อโรคอาจแพร่กระจายผ่านการให้เลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ และการรับประทานอาหารที่มีปรสิตเหล่านี้

อาการมักเริ่มต้นจากไข้อ่อนๆ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหัว อาการบวมที่รอยกัด แล้วก็จะหายไป อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อ 30-40% จะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 10 ถึง 30 ปี อาจพบอาการห้องหัวใจโต หัวใจล้มเหลว หลอดอาหารโต หรือลำไส้ใหญ่โต

โรคที่มีแมลงเป็นพาหะมักเกิดจากแมลงกัดต่อย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแมลงกัดและสัตว์ประเภทแมงต่างๆ

 

 

ไข้เลือดออก (Dengue Fever)

แมลง: ยุง
เชื้อ: ไวรัสเด็งกี่ (Dengue virus)

ไข้เลือดออก เป็นโรคจากเชื้อไวรัสในยุงที่สำคัญที่สุดในโลก โดยองค์การอนามัยโลกได้จัดอันดับโรคนี้เป็นหนึ่งในโรคเขตร้อน 17 ชนิดที่ถูกละเลย และนำเข้าโครงการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักและกำจัดทิ้ง ไข้เลือดออกแพร่กระจายในประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ประเทศทั่วเขตร้อน ตั้งแต่อเมริกากลางและอเมริกาใต้ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิก พบโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสองสามทศวรรษที่ผ่านมาในบริเวณเขตชุมชนเมือง ซึ่งมีสภาพเหมาะสมต่อการแพร่เชื้อ องค์การอนามัยโลกประเมินว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 50-100 ล้านรายต่อปี และประชากรครึ่งหนึ่งของโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการระบาด

ความเสี่ยงของไข้เลือดออกรุนแรงกว่าการระบาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยุงพาหะอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลาย และยุงลายเสือ หรือ Aedes albopictus ยิ่งทำให้การแพร่กระจายกว้างขวางมากขึ้น มีการรายงานผู้ป่วยรายใหม่ในโครเอเชีย ฝรั่งเศส หมู่เกาะมาเดียรา ฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) และยูนนาน (ประเทศจีน) ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการไข้อ่อนๆ ในขณะที่ผู้ป่วยประมาณ 5% มีอาการรุนแรงโดยมีไข้เฉียบพลันภายใน 3-14 วันหลังได้รับเชื้อ มีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ มีผื่นตามร่างกาย และยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาโดยเฉพาะ

 

เรียนรู้วิธีสังเกตสัญญาณของยุง

ศึกษาบริการกำจัดยุง

ไข้มาลาเรีย (Malaria)

แมลง: ยุง
เชื้อ: โปรโตซัว Plasmodium falciparum, P. vivax, P. ovale, P. malariae, P. knowlesi

มาลาเรียทำให้คนเสียชีวิตนับล้านต่อปี และคาดว่ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก พบใน 97 ประเทศ ครอบคลุมประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ประมาณ 90% ของการเสียชีวิตด้วยโรคนี้เกิดขึ้นบริเวณเขตกึ่งซาฮาราในแอฟริกา โดยเฉพาะในไนจีเรียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ คนยากจนในชุมชนห่างไกลที่มีบริการสาธารณสุขจำกัด เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ติดเชื้อ HIV

ปรสิตมีวงจรชีวิตที่ซับซ้อน มีการพัฒนาหลายขั้นตอน ทั้งในตัวยุงและสัตว์อื่นที่มันอาศัยอยู่ มีรูปแบบหนึ่งที่สามารถอยู่ในตับได้นานถึง 30 ปีโดยไม่แสดงอาการ และอีกรูปแบบจะเติบโตและขยายพันธุ์ในเซลล์เม็ดเลือดแดง รวมทั้งรูปแบบเพศผู้และเพศเมียที่สามารถนำเชื้อไปติดยุงได้

อาการไข้ ปวดหัว อาเจียน จะแสดงขึ้นภายใน 7-15 วันหลังจากติดเชื้อ ถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium falciparum) จะขยายตัวอย่างรวดเร็วและปิดกั้นหลอดเลือดเล็กในอวัยวะสำคัญ รวมทั้งในสมองด้วย ส่วนเชื้ออื่นๆ จะซ่อนอยู่ในตับและสามารถแสดงอาการในอีกหลายเดือนหรือหลายปีต่อมา

 

เรียนรู้ทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับยุง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยุงกัด

ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile Fever)

แมลง: ยุง
เชื้อ: Flavivirus (เวสต์ไนล์ไวรัส)

เดิมโรคนี้ไม่เป็นที่รู้จักนอกยูกันดา ซึ่งพบโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ.2480 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2533 ที่มีการระบาดของโรคในอัลจีเรีย ปัจจุบันพบในเขตอบอุ่นและเขตร้อน และแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเองก็มีการระบาดในปี พ.ศ.2555 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 286 ราย ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรปได้เฝ้าระวังการติดเชื้อในยุโรป และในปี ค.ศ.2558 จนถึงเดือนสิงหาคมมีรายงานผู้ป่วยไข้เวสต์ไนล์ (WNF) ในประเทศสมาชิก EU จำนวน 8 ราย ได้แก่ ออสเตรีย 1 ราย อิตาลี 4 ราย บัลแกเรีย 1 ราย โรมาเนีย 1 ราย และออสเตรีย 1 ราย และพบอีก 8 รายในประเทศใกล้เคียง คือ อิสราเอล 7 ราย และเซอร์เบีย 1 ราย โดยมีการจัดทำ แผนที่แสดงจำนวนผู้ป่วยในแต่ละประเทศ

ประมาณ 80% ของผู้ติดเชื้อจะไม่ปรากฏอาการ ส่วนที่เหลือจะมีอาการภายใน 2-15 วัน ได้แก่ อาการไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดข้อ อาเจียน ท้องร่วง และผื่น คนส่วนใหญ่จะหายสนิท แต่อาจมีอาการอ่อนแอของร่างกายหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ผู้ป่วยจำนวนน้อยอาจมีอาการที่พัฒนาไปเป็น ไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือโรคโปลิโอ โดยยังไม่มีวิธีการรักษาหรือวัคซีนเฉพาะ

 

เรียนรู้การป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาในบ้านคุณ

เรียนรู้เกี่ยวกับยุงสายพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย

ไข้เหลือง (Yellow Fever)

แมลง: ยุง
เชื้อ: ไวรัส Flavivirus

โรคไข้เหลือง เป็นไข้เลือดออกที่มีต้นกำเนิดในเขตตอนกลางของแอฟริกา แต่ขยายไปสู่อเมริกาใต้ในศตวรรษที่ 17 พร้อมกับการค้าทาส แพร่กระจายใน 34 ประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งในแต่ละปีมีอัตราการตายประมาณ 30,000 ราย จากผู้ติดเชื้อ 200,000 ราย การติดเชื้อมีสามรูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบชุมชนเมือง ติดต่อผ่านยุงลายบ้าน (A aegypti) ที่ขยายพันธุ์ในน้ำจืดบริเวณสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ เช่น กระป๋องโลหะ ถังน้ำ รางระบายน้ำ ฯลฯ ซึ่งเป็นรูปแบบการติดเชื้อหลักในแอฟริกา
  • รูปแบบในป่า ติดต่อผ่านยุง A. africanus และยุง A. bromeliae ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไปสู่ลิง โดยเป็นรูปแบบหลักในอเมริกาใต้
  • รูปแบบกลางหรือแบบ ‘สะวันนา’ ซึ่งพบได้มากในแอฟริกาเมื่อเร็วๆ นี้

อาการจะแสดงขึ้นภายใน 3-6 วันหลังได้รับเชื้อ ซึ่งประกอบด้วย อาการไข้ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ และอาเจียน คนไข้ประมาณ 15% จะมีอาการ อาหารเป็นพิษเฉียบพลัน และมีอาการตัวเหลืองร่วมด้วย อันเป็นผลมาจากความเสียหายในตับและสัญญาณเลือดออก เช่น เลือดออกในปาก ตา จมูก และในทางเดินอาหาร ซึ่งทำให้เกิด 'อาเจียนเป็นสีดำ' โดยผู้ป่วยที่พัฒนาอาการมาถึงระดับนี้จะมีอัตราการเสียชีวิต 20% หรือมากกว่า

มีวัคซีนป้องกันที่ปลอดภัยและสามารถป้องกันโรคได้อย่างน้อย 10 ปี

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่แพร่เชื้อโดยยุง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมลงกัดต่อย เช่น ยุง เรือด และแมงมุม

โรคลัยม์ (Lyme disease)

สัตว์พาหะ: เห็บกวาง (Deer Tick)
เชื้อ: แบคทีเรีย Borrelia spp และ Borrelia burgdorferi sensu lato

โรยลัยม์ มีเห็บเป็นพาหะนำโรค มักพบในซีกโลกเหนือ และอยู่กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดที่เห็บอาศัยหากินและสะสมเชื้อโรค พบการติดเชื้อในอัตรา 7.9 คนต่อประชากร 100,000 คนในสหรัฐอเมริกา (WHO) และมีการรายงานจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 6,000 รายในอังกฤษและเวลส์ในแต่ละปี

อาการของโรคลัยม์ประกอบด้วย อาการผื่นสีชมพูหรือแดง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีจุดสีแดงตรงกลาง มีวงสีแดงรอบๆ ลักษณะคล้าย 'เป้ายิง' มีอาการไข้ขึ้นสูง 38°C หรือ 100.4°F หรือมากกว่า มีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น ปวดหัวและข้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และหากไม่ได้รับการรักษา อาการอาจอยู่ได้หลายปี เช่น อาการข้ออักเสบ อาการชา อัมพาต และผู้ติดเชื้อประมาณ 10% มีอาการเกี่ยวกับประสาทส่วนกลาง

 

เรียนรู้วิธีสังเกตุและการกำจัดเห็บ

 ทำไมคุณควรเลือกเร็นโทคิลเป็นผู้ให้บริการควบคุมสัตว์รบกวนของคุณ

ไข้เห็บกัด (Tick Bite Fever)

ไข้เห็บกัดมี 2 ชนิดหลัก คือ

ไข้เห็บโคโลราโด (Colorado Tick Fever)

เชื้อ: เห็บป่าเทือกเขาร็อกกี้ (Dermacentor andersoni)

เชื้อ: ไวรัส Coltivirus

ไข้เห็บโคโลราโด มีอยู่เฉพาะบริเวณเทือกเขาทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา อาการประกอบไปด้วย เป็นไข้ ปวดหัว ปวดกระบอกตา อาการไวต่อแสง ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้และอาเจียน รักษาตามอาการเพื่อลดไข้และอาการปวด

ไข้เห็บแอฟริกัน (African Tick Bite Fever)

แมลง: เห็บในวงศ์ Amblyomma Dermacentor และ Rhipicephalus

เชื้อ: แบคทีเรีย Rickettsia africae

ไข้เห็บแอฟริกัน เป็นการติดเชื้อริกเก็ตเซียชนิดหนึ่งที่พบบริเวณเขตกึ่งซาฮาราในแอฟริกา และหมู่เกาะเวสต์อินดีส

ระยะฟักตัวของโรคใช้เวลา 5-7 วัน และมีอาการไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และผื่นผิวหนังที่มีจุดตรงกลางรอยกัดสีดำ ไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ หน่วยงาน US CDC รายงานว่า โรคนี้เป็นไข้ที่พบได้บ่อยในผู้ที่เดินทางไปยังแอฟริกาใต้

หอบหืด (Asthma)

แมลง: ไรฝุ่นบ้านและแมลงสาบ (House dust mites & Cockroaches)
เชื้อ: ไม่ทราบ (ปฏิกิริยาภูมิแพ้)

หอบหืด ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อฝุ่นผงของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ได้แก่ ไรฝุ่นบ้านและแมลงสาบ เป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีแมลงเป็นพาหะอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามโรคนี้มีความสำคัญต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก หอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็ก และในสหรัฐอเมริกาโรคนี้เป็นสาเหตุหลักในการเข้าโรงพยาบาลของเด็ก องค์การอนามัยโลกประมาณการว่ามีกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคหอบหืด โดยในชนบทของแอฟริกามีอัตราผู้ป่วยอยู่ที่ 1% ในยุโรป 7-20% และในบางเมืองของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียอยู่ที่ 25-40%

สาเหตุหลักของโรคคือ ไรฝุ่นบ้าน ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทแมง มีขนาดเล็กกว่าหนึ่งมิลลิเมตร กินเศษผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร มีการพบละอองเกสร สปอร์ของจุลชีพ เส้นใยเชื้อรา และแบคทีเรียในช่องท้องของไรฝุ่นบ้านด้วย ไรฝุ่นบ้านอยู่ในพื้นที่เล็กๆ บนฟูกที่นอน พรม ผ้านวม หมอน และวัสดุเฟอร์นิเจอร์ ทั้งแบบสังเคราะห์และธรรมชาติ เนื่องจากวัสดุทั้งสองชนิดเป็นที่อยู่อย่างดีของไรฝุ่น

ไรฝุ่นอาศัยระดับความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการดำรงชีพ ดังนั้นระบบความร้อน การระบายอากาศ และการควบคุมความชื้นในที่อยู่อาศัยจะมีผลต่อจำนวนประชากรไรฝุ่น สภาวะที่เหมาะสมที่สุดคืออุณหภูมิระดับ 25°C และความชื้นสัมพัทธ์ 75% ซึ่งช่วยให้การพัฒนาจากไข่เป็นตัวเต็มวัยเกิดขึ้นได้ใน 25 วัน ไรฝุ่น D. farina สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาพความชื้นต่ำได้โดยพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะ ‘protonymph’ ที่ทนต่อความแห้งแล้ง ไรฝุ่นชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ที่พบโดยทั่วไปในภูมิภาคที่มีอากาศแห้งยาวนาน เช่น ในสหรัฐอเมริกา พื้นที่ที่มีความชื้นสูงมักพบไรฝุ่นสายพันธุ์ D. pteronyssinus และ E. maynei

แมลงสาบเยอรมันเป็นสายพันธุ์ที่สร้างความรบกวน อาศัยอยู่บนอาคารในทุกทวีป ยกเว้นแอนตาร์กติกา โดยต้องอาศัยอาคาร (หรือเรือ) เพื่ออยู่รอดในภาวะอากาศหนาว มักพบในภัตตาคาร โรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์รักษาพยาบาล และโรงงานแปรรูปอาหาร การศึกษาจำนวนมากพบว่า การสัมผัสสารภูมิแพ้ในแมลงสาบมีความเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ป่วยหอบหืดจำนวนมากมีอาการไวต่อแมลงสาบ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง แสดงให้เห็นว่ามีแมลงเหล่านี้รบกวนเป็นจำนวนมากแม้ในสหรัฐอเมริกาเอง

 

เรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับแมลงสาบ

เรียนรู้การสังเกตสัญญาณของแมลงสาบในบ้านหรือธุรกิจคุณ

โรคเหงาหลับแอฟริกัน (African Trypanosomiasis)

แมลง: แมลงวันเซ็ทซี (Tsetse Fly) เหลือบม้า (Horse Fly) และแมลงในวงศ์ Tabanidae
เชื้อ: โปรโตซัว Trypanosoma brucei สายพันธุ์ย่อย gambiense และ rhodesiense

โรคนี้พบในเขตชนบทของแอฟริกาเท่านั้น โดยพบในชนบทที่ยากจนเป็นหลัก มีการควบคุมโรคได้ในปี พ.ศ. 2503 แต่โรคอุบัติขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2513 เนื่องจากมาตรการควบคุมผ่อนคลายลง แต่อัตราการติดเชื้อลดลงอย่างมากใน 20 ปีที่ผ่านมา โดยลดลงจาก 300,000 เป็นต่ำกว่า 30,000 รายตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นผลจากการรณรงค์เพื่อควบคุมโรค ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกรายงานว่า จำนวนผู้ป่วยลดลงเหลือ 3,800 ราย ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในช่วง 75 ปี ความพยายามควบคุมยังมีอยู่ โดยมีการตรวจคนจำนวน 2-3 ล้านคนต่อปี ตามศูนย์บริการสาธารณสุขท้องถิ่นต่างๆ

แมลงวันเซ็ทซีอาศัยอยู่ในพื้นที่ต้นไม้หนาแน่น ป่า และแหล่งพืชพรรณต่างๆ ทั้งตั้วผู้และตัวเมียจะดูดกินเลือดและหาอาหารในช่วงกลางวัน สัตว์บ้านและสัตว์ป่าเป็นแหล่งเชื้อที่มีบทบาทสำคัญในการส่งต่อเชื้อโรค

มีปรสิตสองสายพันธุ์ย่อยที่พบในพื้นที่ต่างๆ ของแอฟริกา ได้แก่ ปรสิตไข้เหงาหลับแอฟริกันตะวันออก (East African sleeping sickness) และไข้เหงาหลับแอฟริกันตะวันตก (West African sleeping sickness) เมื่ออยู่ในร่างกายมนุษย์แล้ว จะเริ่มไหลเวียนและเพิ่มจำนวนในระบบเลือดและน้ำเหลือง ทำให้เกิดอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และระคายเคืองผิว มันอาจบุกโจมตีสมองและระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการปวดหัว ง่วงเหงา และพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป และอาจนำไปสู่อาการโคมาและเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา

บิดอะมีบา (Amoebic dysentery)

แมลง: แมลงสาบ และ แมลงวัน
เชื้อ: โปรโตซัว Entamoeba histolytica

แมลงเป็นสัตว์พาหะของโรคบิดอะมีบา โดยติดต่อผ่านการสัมผัสกับอุจจาระของมนุษย์ หรือการสัมผัสผลิตภัณฑ์และพื้นผิวที่มีเชื้อ คาดว่ามีผู้ติดเชื้อทั่วโลกประมาณ 50 ล้านคน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีเพียง 10% เท่านั้นที่จะแสดงอาการ

โรคนี้ทำให้เกิดอาการบิดถ่ายเป็นมูกเลือด น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และปวดท้อง เชื้อจะโจมตีผนังลำไส้ทำให้เกิดแผล เชื้อโรคสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะในตับ

แอนแทรกซ์ (Anthrax)

แมลง:เหลือบม้า (Horse Fly) เหลือบกวาง (Deer Fly) แมลงวันบ้าน (Bouse Fly) แมลงวันหัวเขียว (Blow Fly) และยุง (Mosquitoes)
เชื้อ: แบคทีเรีย Bacillus anthrax

แมลงกัดและไม่กัดหลายชนิดถูกจัดให้เป็นแมลงแพร่เชื้อแอนแทรกซ์ระหว่างเกิดการระบาด และยังพบว่ามีการนำเชื้อนี้แพร่สู่สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมด้วย ซึ่งเกิดได้โดยตรงจากการนำเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์ตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่ง หรือโดยการกินซากสัตว์ แล้วถ่ายมูลหรือสำรอกบนพืชที่สัตว์กินเป็นอาหาร เชื้อแอนแทรกซ์ระยะสปอร์สามารถซ่อนอยู่ในดินได้นับทศวรรษ จนกระทั่งมีการกินหรือสูดดมเข้าไปโดยสัตว์หากินในทุ่ง แล้วจึงถูกกระตุ้นการเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในตัวสัตว์นั้น

การติดเชื้อในคนมี 3 ช่องทาง คือ

  • เข้าสู่ปอด — การสูดดมสปอร์จากที่พรางตัวของสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาการเริ่มต้นจะคล้ายไข้หวัด แล้วพัฒนาไปเป็นอาการปอดบวม และระบบการหายใจล้มเหลว โดยใช้เวลาหลายวัน หากได้รับการรักษา อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 45% (ในปี พ.ศ.2544 เกิดแอนแทรกซ์ระบาดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีการส่งเชื้อผ่านช่องทางไปรษณีย์)
  • เข้าสู่ช่องท้อง — ผ่านการบริโภคเนื้อที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง ทางเดินอาหารอักเสบเฉียบพลัน และอาเจียนมีเลือด อัตราการตายอยู่ระหว่าง 25-60%
  • ทางผิวหนัง — สปอร์เข้าสู่แผลตามผิวหนังระหว่างที่สัมผัสหรือทำงานกับสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษา อัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ประมาณ 20%

บาบีซิโอซีส (Babesiosis)

แมลง: เห็บ

เชื้อ: โปรโตซัว Babesia spp

บาบีซิโอซีส เป็นโรคที่พบไม่บ่อย และเป็นโรคเกิดใหม่ซึ่งเกิดจากโปรโตซัว Babesia หลายสายพันธุ์ สัตว์พาหะหลักคือ เห็บในสกุล Ixodes แต่พบว่าจะต้องใช้ตัวโวล หนู หรือกวางหลายสายพันธุ์เป็นตัวกลางเพื่อวงจรชีวิตที่สมบูรณ์

ทราบกันดีว่า เชื้อโรคนี้อยู่ในวัวและเพิ่งพบในมนุษย์ในทศวรรษที่ 2493 ส่วนใหญ่พบในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา และในเขตอบอุ่นของยุโรป มักจะไม่พบอาการหรือมีอาการคล้ายไข้หวัดอ่อนๆ แต่ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง อาจมีอาการรุนแรงและถึงแก่ชีวิตได้

บาร์โตเนลโลสิส (Bartonellosis)

แมลง: หมัด (Fleas) เหาลำตัว (Body Louse) แมลงวันทราย (Sand Flies) เห็บ (Ticks) และยุง (Mosquitoes)

เชื้อ: แบคทีเรีย Bartonella spp

แบคทีเรียสายพันธุ์บาร์โตเนลลาเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น

ไข้เทรนช์ (Trench Fever)

เกิดจากสายพันธุ์ B. Quintana โรคนี้แพร่สู่คนผ่านเหาลำตัว เป็นโรคที่ทราบกันดีว่ามีผลกระทบต่อกองทัพหลายแห่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มากกว่าหนึ่งในห้าของทหารในกองทัพอังกฤษ เยอรมนี และออสเตรียป่วยเป็นโรคไข้เทรนช์ โรคนี้มีอยู่ทั่วไป โดยมีรายงานผู้ป่วยในยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา และจีน อาการประกอบด้วย เป็นไข้ ปวดหัว ผื่น และปวดกระดูก โดยเฉพาะบริเวณหน้าแข้ง คอ และหลัง

โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease)

เกิดจากบาร์โตเนลลาหลายสายพันธุ์ จากชื่อของโรคก็รู้ว่า โรคนี้ติดต่อผ่านแมว ซึ่งได้รับเชื้อจากหมัดที่ติดเชื้อ พบได้บ่อยในแมวและเด็ก อาการประกอบด้วย หัวใจอักเสบ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) และโรคตา (โรคจอประสาทตา) ซึ่งเชื่อว่าโรคแพร่ผ่านการกัดของหมัดและเห็บ

โรคแคเรียน (Carrión's disease)

จำกัดอยู่ในพื้นที่สูงฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ โดยเชื้อแพร่ผ่านการกัดของแมลงวันทราย Lutzomyia โรคนี้มีอาการสองระยะ ได้แก่ ภาวะไข้ที่เรียกว่า Oroya fever (ในตอนแรกถูกเข้าใจว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน) และอาการตุ่มตามผิวหนังที่มักมีเลือดออก โรคนี้ตั้งชื่อตามนักศึกษาแพทย์ชาวเปรูที่รับเชื้อนี้ด้วยตัวเองในปี ค.ศ.1885 เพื่อบันทึกความก้าวหน้าของโรคและเสียชีวิตในที่สุด

เรียนรู้การสังเกตสัญญาณของหมัดในบ้านหรือธุรกิจคุณ

 เรียนรู้การสังเกตุเห็บและการกำจัดมัน

ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya Fever)

แมลง: ยุง

เชื้อ: ไวรัส Chikungunya

ไข้ชิคุนกุนยา เกิดทั่วเขตร้อนบริเวณชายฝั่งทะเลแอตแลนติกของแอฟริกา ไปจนถึงปาปัวนิวกินีในแฟซิฟิกตะวันตก มีรายงานของโรคในอเมริกาใต้และกลาง สหรัฐอเมริกา และยุโรปตอนใต้

อาการหลัก ได้แก่ เป็นไข้ อาการปวดรุนแรงตามข้อนานหลายสัปดาห์ ผื่นผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย คนไข้ส่วนใหญ่จะหายเองได้ แต่อาการปวดตามข้ออาจมีต่อเนื่องหลายเดือนหรือเป็นปี ไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาโดยเฉพาะ มีลักษณะเหมือนไข้เลือดออกทั้งสัตว์พาหะและอาการ แต่แตกต่างกันเฉพาะอาการปวดข้อและเขตภูมิศาสตร์ของโรค

เรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยุง

เรียนรู้การป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาในบ้านคุณ

อหิวาตกโรค (Cholera)

แมลง: แมลงวันบ้าน (House Fly) แมลงวันหัวเขียว (Blow Fly) และแมลงวันหลังลาย (Flesh Fly)

เชื้อ: แบคทีเรีย Vibrio cholera

อหิวาตกโรค เกิดในบริเวณที่สุขอนามัยไม่ดี มีความยากจน และความขัดแย้ง เกิดจากการได้รับอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป แมลงเป็นสาเหตุสำคัญของการแพร่กระจายโรค โดยนำพาเชื้อแบคทีเรียจากอุจจาระที่ติดเชื้อหรือผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนซึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 1-5 วัน หลังจากนั้นแบคทีเรียจะผลิตสารพิษ ทำให้ถ่ายเหลวและอาเจียน และนำไปสู่อาการขาดน้ำและเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาการหนักมีโอกาส 25-50% ที่จะเสียชีวิต

ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับโรคนี้และได้ผลดีโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อควบคุมการแพร่กระจายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการกระจายยา 2 ล้านโดสในปี พ.ศ.2556 โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งในแอฟริกา จำนวนผู้ติดเชื้อในแอฟริกาคิดเป็นมากกว่า 90% ยกเว้นการระบาดที่เกิดในเฮติและประเทศใกล้เคียงหลังเหตุแผ่นดินไหวในปี ค.ศ.2553 ซึ่งทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นเกือบ 600,000 รายในปี พ.ศ.2554

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก 80% ของผู้ป่วยอหิวาตกโรคสามารถรักษาได้โดยการให้เกลือแร่ประเภทดื่มเพื่อทดแทนการขาดน้ำ แต่มีผู้คนจำนวนถึง 748 ล้านคนที่ขาดแคลนน้ำสะอาดในปี 2555 และมี 45 ประเทศที่ยังไม่สามารถปรับปรุงระบบประปาให้ได้มาตรฐาน

เรียนรู้วิธีสังเกตสัญญาณการระบาดของแมลงวัน

เรียนรู้วิธีป้องกันแมลงวันไม่ให้เข้าบ้านคุณ

ไข้เลือดออกไครเมียน-คองโก (Crimean-Congo haemorrhagic Fever)

แมลง: เห็บ

เชื้อ: ไวรัส Nairovirus

เชื้อไวรัสถ่ายทอดสู่มนุษย์ผ่านการกัดของเห็บ และเข้าสู่เลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็น วัว แกะ หรือแพะ เห็บสายพันธุ์ Hyalomma marginatum แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแอฟริกาเหนือและเอเชีย และมีอยู่ในยุโรปตอนใต้และตะวันออก พวกมันมักแพร่กระจายผ่านการอพยพของนกและปศุสัตว์

ไวรัสนี้มีอยู่ในแอฟริกา ตะวันออกกลาง คาบสมุทรบอลข่าน เอเชียตะวันตกและเอเชียใต้ ถือเป็นไวรัสก่อโรคเกิดใหม่ในยุโรป พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในหลายประเทศ และมีการพบแอนตี้บอดี้ของไวรัสในหลายประเทศ จากข้อมูลของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป

อาการประกอบด้วย อาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ วิงเวียน ปวดคอ ปวดหลัง ปวดหัว เจ็บตา ไวต่อแสง อาเจียน และท้องร่วง อัตราการตายอยู่ระหว่าง 5-40% และไม่มีวิธีการรักษาที่ได้รับการรับรองและไม่มีวัคซีนที่ปลอดภัย

ไข้กลับซ้ำ (Relapsing Fever)

แมลง: เห็บและเหา

เชื้อ: แบคทีเรีย Borrelia

ไข้กลับซ้ำ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ซ้ำๆ เป็นเวลาหลายวัน ตามด้วยช่วงระยะเวลาปลอดไข้อีกประมาณเจ็ดวัน และตามด้วยอาการปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน อาการกลัวอ้วน ไอแห้ง ไวต่อแสง ผื่น ปวดคอ ปวดตา สับสน และวิงเวียน

ไข้ที่มีเหาเป็นพาหะมักเกิดจากแบคทีเรียสายพันธุ์ Borrelia recurrentis และติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น มีการแพร่กระจายโรคในพื้นที่ที่มีสภาพความเป็นอยู่ไม่ดี อดอยาก หรือมีความขัดแย้ง เช่น ปัจจุบันพบในเอธิโอเปียและซูดาน โดยจะเกิดอาการตัวเหลือง เลือดออกรุนแรง อาการทางจิตและอาการทางหัวใจ การติดเชื้อเกิดจากการบี้ตัวเหาหรือถูผิวบริเวณที่เหากัดและนำพาของเสียซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่แผลหรือเนื้อเยื่ออ่อน ไข้ที่เกิดจากเหามีความรุนแรง โดยผู้ติดเชื้อหากไม่ได้รับการรักษาจะมีอัตราการเสียชีวิต 30–70% และเหลือเพียง 1% หากเข้ารับการรักษา

โรคจากเห็บเป็นพาหะพบในแอฟริกา สเปน ซาอุดิอาระเบีย เอเชีย แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เห็บแต่ละสายพันธุ์เป็นพาหะนำเชื้อ Borrelia ที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในที่ต่างกันโดยใช้สัตว์ขนาดเล็กเป็นที่อาศัยและหากิน เห็บมีช่วงชีวิตยาวนานมากกว่า 10 ปี ดังนั้นเห็บสามารถอยู่ในอาคารได้หลายปี

ไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด (Epidemic typhus)

แมลง: เหา

เชื้อ: แบคทีเรีย Rickettsia prowazekii

เช่นเดียวกับไข้ชนิดอื่นที่มีเหาเป็นพาหะ ไข้รากสาดใหญ่มักเกิดในสภาพแวดล้อมที่แออัดและสุขอนามัยไม่ดี เช่น ในค่ายผู้ลี้ภัย และเรือนจำ พบได้บ่อยในแอฟริกากลางและตะวันออก อเมริกากลางและใต้ และในเอเชีย การแพร่ระบาดเมื่อเร็วๆ นี้เกิดขึ้นที่บูรุนดี เอธิโอเปีย และรวันดา การติดเชื้อเกิดจากการบี้ตัวเหาหรือถูผิวบริเวณที่เหากัดและนำพาของเสียที่มีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่แผลและเนื้อเยื่ออ่อน การติดเชื้อบางรายในสหรัฐอเมริกามีความเกี่ยวข้องกับกระรอกบิน ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านคนช่วงฤดูหนาว แต่ยังไม่ทราบวิธีการรับเชื้อเนื่องจากไม่พบเหาในตัวผู้ป่วย

อาการประกอบด้วย ไข้สูง ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง และหลังจากนั้น 5-6 วันจะมีผื่นจุดดำบนผิวหนัง

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมลงกัดต่อยและแมง เช่น แมงมุมและตัวเรือด

 เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีควบคุมสัตว์รบกวนในที่อยู่อาศัยของเรา

เออร์ลิชิโอสิส (Ehrlichiosis)

แมลง: เห็บ

เชื้อ: แบคทีเรีย Ehrlichia, Anaplasma phagocytophilum และ Neorickettsia sennetsu

โรคเออร์ลิชิโอสิส เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกการติดเชื้อแบคทีเรียที่โจมตีเซลเม็ดเลือดขาว เชื่อกันว่าโรคนี้จำกัดอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยมีเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดที่เป็นแบคทีเรียเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น และยังมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้น้อยมาก

จะเกิดอาการขึ้นประมาณ 14 วันหลังติดเชื้อ และวงจรการติดเชื้อเกิดขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย อาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และผื่นผิวหนังในบางครั้ง ซึ่งมีอาการแตกต่างกันออกไป

ไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis)

แมลง: ยุง

เชื้อ: flavivirus (ไวรัส Japanese encephalitis)

เกิดบริเวณพื้นที่ชนบทของเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้เป็นหลัก อัตราการติดเชื้อเกี่ยวข้องกับฤดูฝนและน้ำท่วมทุ่งนา พาหะหลักของไวรัสคือ หมู นกอีโก้ง และมนุษย์ในบางครั้ง แต่แทบจะไม่มีการแพร่โรคโดยการกัดต่อไปอีกทอด มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับไวรัสเวสต์ไนล์และไวรัสสมองอักเสบเซ็นต์หลุยส์

การติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่บางรายโดยเฉพาะในเด็ก ไวรัสจะบุกเข้าไปยังสมอง ทำให้มีไข้สูงและปวดหัว จะแสดงอาการหลังติดเชื้อ 5-15 วัน และอาจรุนแรงถึงขั้นโคมา มีอาการสั่นและชัก ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่มีวัคซีนสำหรับโรคนี้

ไข้ป่าคีซาอานูร์ (Kyansur forest disease)

แมลง: เห็บ

เชื้อ: Flavivirus (ไวรัส Kyansur forest disease)

แม้จะมีลักษณะเหมือนกับโรคที่พบในรัสเซีย (ไข้สมองอักเสบ Russian spring-summer และไข้เลือดออก Omsk) แต่โรคนี้จำกัดอยู่ในบริเวณอินเดียใต้เท่านั้น ซึ่งพบผู้ติดเชื้อ 4-500 รายต่อปี การติดเชื้อในมนุษย์เกิดจากเห็บกัด หรือจากการสัมผัสสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กและลิง ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2550

อาการประกอบด้วย ไข้สูง ปวดหัว และเลือดออก เช่น เลือดออกในจมูก คอ เหงือก และในช่องท้อง มีวัคซีนป้องกัน แต่ไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะ การรักษาให้หายสนิทต้องใช้เวลาหลายเดือน

 

ลิชมาเนีย (Leishmaniasis)

แมลง: แมลงวันทราย (Sandflies)

เชื้อ: โปรโตซัว Leishmania spp

โรคลิชมาเนีย แพร่กระจายผ่านการกัดของแมลงวัน แมลงวันเหล่านี้มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว 1.5-3.0 มม. ดวงตาโตใหญ่ ร่างกาย ปีก และขาปกคลุมด้วยขน มีการขยายพันธุ์บริเวณพื้นที่ป่า ถ้ำ และในบ้านดินที่ซึ่งพบการติดเชื้อในมนุษย์มากที่สุด แหล่งของเชื้อโรคมักอยู่ในสัตว์ฟันแทะ สุนัข และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ

มีโปรโตซัวมากกว่า 20 สายพันธุ์ที่ก่อโรคหลากรูปแบบ ทั้งทางผิวหนัง เยื่อบุผิว และภายในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการที่หลากหลาย เช่น แสบผิว แผลเรื้อรัง การติดเชื้อเยื่อบุผิวหนัง และการติดเชื้อในม้าม ตับ ไขสันหลัง และต่อมน้ำเหลือง โรคเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศเขตร้อน และเขตกึ่งร้อนหลายแห่ง และรูปแบบอื่นๆ ที่พบในบางประเทศ แม้ว่าบราซิลจะเป็นแหล่งใหญ่ของโรคทั้งสามรูปแบบก็ตาม

องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่า มีผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนี้ประมาณ 310 ล้านคน มีรายงานผู้ติดเชื้อลิชมาเนียชนิดภายในร่างกาย 300,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรค 20,000 คนต่อปี โดยพบผู้ติดเชื้อรูปแบบลิชมาเนียทางผิวหนังประมาณ 1 ล้านรายในช่วงห้าปี (ถึงปี 2553)

เมื่อถูกกัดจะมีรอยเป็นวงสีแดง แต่ไม่บวม โดยมีอาการไข้และโลหิตจาง

 

เรียนรู้การสังเกตุสัญญาณเริ่มต้นของปัญหาแมลงวัน

เรียนรู้เกี่ยวกับบริการกำจัดแมลงวัน

โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis)

แมลง: ยุง

เชื้อ: พยาธิตัวกลม Wuchereria bancrofti (90%), Brugia malayi, B. timori

หนอนพยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในระบบต่อมน้ำเหลืองของมนุษย์ และแพร่กระจายไปสู่คนอื่นผ่านการกัดของยุง ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 120 ล้านคน และผู้ติดเชื้อกว่า 40 ล้านคนมีอาการผิดรูปร่าง หรือพิการ โดยผู้ติดเชื้อเพศชายจำนวน 25 ล้านคนมีอาการเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ โรคนี้เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยระยะยาว การสูญเสียผลิตภาพทั้งของครอบครัวและเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งการแปลกแยกจากสังคมของคนจำนวนมาก

หนอนพยาธิอาจอยู่ในร่างกายหลายปีโดยไม่แสดงอาการ ในระหว่างที่มันผลิตตัวอ่อนนับล้านระหว่างช่วงชีวิต ซึ่งยาวนาน 6-8 ปี จะค่อยๆ ทำลายระบบต่อมน้ำเหลือง ไต และระบบภูมิคุ้มกัน อาการที่ร้ายแรงที่สุดมักพบในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ชายมักเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ (elephantiasis) บริเวณแขน ขา ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมน้ำเหลือง (lymphedema)

มียาที่สามารถกำจัดพยาธิออกจากกระแสโลหิตได้ ซึ่งต้องทำร่วมกับการกำจัดโรค

 

ไข้รากสาดใหญ่จากหนู/ไข้รากสาดใหญ่ประจำถิ่น (Murine typhus/endemic typhus)

แมลง: หมัด

เชื้อ: แบคทีเรีย Rickettsia typhi

โรคนี้เกิดขึ้นทั่วโลก ถ่ายทอดผ่านหมัดที่อยู่บนตัวหนูท่อและพบน้อยกว่าในหนูบ้าน แมว และตัวโอพอสซั่ม มักพบในอาคารที่มีหนูท่อ และค่ายผู้อพยพ

การติดเชื้อถ่ายทอดผ่านการสัมผัสมูลของหมัด ซึ่งเข้าสู่แผลหรือการเอามือถูบริเวณที่ติดเชื้อแล้วนำเชื้อโรคไปสู่เยื่อบุอ่อนและในปาก

อาการของโรคเหมือนไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด ซึ่งมีเหาเป็นพาหะ แต่มีระยะเวลาสั้นและรุนแรงน้อยกว่า โดยมีอาการผื่นหกวันหลังการติดเชื้อ ปวดหัว เป็นไข้ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ คลื่นไส้ อาเจียน อาการอาจคล้ายโรคหัด หรือหัดเยอรมัน โรคไข้รากสาดใหญ่จากหนูสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

 

โรคพยาธิตาบอด/โรคตาบอดแถบแม่น้ำ (Onchocerciasis/River blindness)

แมลง: แมลงริ้นดำ

เชื้อ: พยาธิตัวกลมเนมาโทด Onchocerca volvulus

โรคตาบอดแถบแม่น้ำมีผู้ติดเชื้อ 37 ล้านคน ส่วนใหญ่พบใน 31 ประเทศแถบแอฟริกา และอเมริกากลางและใต้ มีความเสี่ยงในเขตชนบทใกล้แหล่งน้ำไหลเร็วซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของแมลงริ้นดำ

ปรสิตชนิดนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (เจ็บบริเวณขาหนีบ) อาการเท้าช้างที่อวัยวะสืบพันธุ์ บกพร่องทางการมองเห็นรุนแรง และตาบอด

ปรสิตชนิดนี้มีวงจรชีวิตซับซ้อนและขยายพันธุ์เฉพาะในตัวมนุษย์ โดยมีระยะตัวอ่อนหลายระยะภายในตัวแมลงริ้นดำ แมลงริ้นดำตัวเมียจะหาเลือดเป็นอาหารหลังการจับคู่ และถ้าดูดเลือดมนุษย์ที่มีเชื้อ มันจะนำปรสิตระยะไมโครฟิลาเรียจากเลือดนั้นเข้าร่างกาย ปรสิตระยะไมโครฟิลาเรียจะผลิตตัวอ่อน โดยมีสามระยะ ซึ่งระยะสุดท้ายจะย้ายไปอยู่บริเวณส่วนหัวและปากดูดของแมลง และติดต่อสู่มนุษย์ผ่านน้ำลายเวลาดูดเลือด

ตัวอ่อนจะย้ายไปอยู่บริเวณเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ซึ่งมันจะสร้างปุ่มขึ้นและเติบโตเป็นตัวเต็มวัยภายใน 6-10 เดือน ตัวเต็มวัยจะจับคู่ และตัวเมียจะผลิตไมโครฟิลาเรีย ซึ่งจะถูกนำเข้าสู่ร่างกายแมลงริ้นดำขณะที่มันกินอาหาร

หนอนพยาธิตัวกลมสามารถโตและมีขนาดยาวได้ถึง 50 ซม. อาศัยอยู่ในโนดูลได้นานถึง 15 ปี และผลิตไมโครฟิลาเรียได้นานถึง 9 ปี

รักษาได้โดยการฆ่าไมโครฟิลาเรียและบรรเทาอาการระคายเคืองผิว แต่ไม่สามารถฆ่าหนอนพยาธิเต็มวัยได้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าจะมีวิธีการรักษาตามรายงานของ CDC โดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียซิมไบโอติคสกุล Wolbachia ซึ่งมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดของปรสิตชนิดนี้

 

เรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับแมลงวัน

เรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์แมลงวันต่างๆ ในประเทศไทย

ไข้ริ้นฝอยทราย (Pappataci Fever)

แมลง: แมลงวันทราย

เชื้อ: ไวรัส Phlebovirus serotypes

ไวรัสนี้มี 3 ซีโรทัยป์ (Serotypes ) คือ ทอสคานา (Toscana) ซิซิเลียน (Sicilian) และเนเปิลส์ (Naples) พบในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง ไปจนถึงอินเดียตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน อาการมักจะเกิดภายในไม่กี่วันหลังติดเชื้อ โดยมีอาการไข้ ปวดศีรษะด้านหน้ารุนแรง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ หัวใจเต้นเร็วและหน้าแดง ซึ่งจะบรรเทาลงหลังสองวันผ่านไป โรคนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ไข้สามวัน และ ไข้ริ้นฝอยทราย (Phlebotomus Fever) ซึ่งยังไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ

 

 เครื่องดักแมลงด้วยแสงไฟ (ILT) ของเร็นโทคิลนำเสนอการกำจัดแมลงวันที่มีนวัตกรรมและถูกกนามัยด้วยเทคโนโลยี Encapsulation

เรียนรู้การสังเกตุและสัญญาณบ่งชี้ปัญหาแมลงวันต่างๆ

โรคไข้คิว (Q Fever)

แมลง: เห็บ

เชื้อ: แบคทีเรีย Coxiella burnetii

โรคไข้คิว เป็นโรคที่แพร่กระจายทั่วไปโดยติดต่อผ่านของเหลวของสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น นม น้ำคร่ำ รก ปัสสาวะ และอุจจาระของวัว แกะ หรือแพะที่ได้รับเชื้อ ซึ่งการติดจากตัวเห็บโดยตรงนั้นพบได้น้อยมาก

ครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดข้อและกล้ามเนื้อ และปัญหาระบบหายใจ สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจมีการพัฒนาเป็นอาการเรื้อรังที่รุนแรงในคนไข้บางราย เช่น ปอดบวม ตับอักเสบ หัวใจอักเสบ ซึ่งต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในระยะยาว

 

ข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการสังเกตุและกำจัดเห็บ

ดูว่าเร็นโทคิลช่วยได้อย่างไร

ไข้ริคเก็ตเซีย (Rickettsial Fevers)

แมลง: หมัดและเห็บ

เชื้อ: แบคทีเรีย Rickettsia

ริคเก็ตเซีย เป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียปฐมภูมิที่อยู่แต่ภายในเซลล์ของสัตว์และต้องใช้กระบวนการทางไบโอเคมีในเซลล์ที่มันอาศัยอยู่เพื่อดำรงชีพ เชื้อถูกนำพาไปโดยแมลงและแมงหลายชนิด เช่น เห็บ หมัด เหา และไร

สายพันธุ์ริคเก็ตเซียเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด รวมถึงกลุ่มของไข้รากสาดใหญ่และโรคไข้พุพอง ซึ่งพบได้ในเขตภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย โดยมีสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้

  • โรคไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด (Rickettsia prowazekii) — ทั่วโลก
  • โรคไข้รากสาดใหญ่จากหนู (Rickettsia typhi) — ทั่วโลก
  • โรคไข้พุพองเทือกเขาร็อคกี้ (Rickettsia rickettsii) — ซีกโลกตะวันตก
  • โรคไข้เห็บกัดแอฟริกัน (Rickettsia africae) — แอฟริกาใต้
  • โรคไข้รากสาดใหญ่จากเห็บไซบีเรีย (Rickettsia sibirica) — ไซบีเรีย มองโกเลีย จีนตอนใต้
  • โรคไข้เมดิเตอร์เรเนียน (Rickettsia conorii) — ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ อินเดีย
  • โรคไข้รากสาดใหญ่จากเห็บออสเตรเลีย (Rickettsia australis) — ออสเตรเลีย
  • โรคไข้พุพองจากหมัด (Rickettsia felis) — อเมริกาเหนือและใต้ ยุโรปตอนใต้ ออสเตรเลีย
  • โรคไข้พุพองตะวันออก (Rickettsia japonica) — ญี่ปุ่น
  • โรคริคเก็ตเซียลพอกซ์ (Rickettsia akari) — สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ยูเครน แอฟริกาใต้ เกาหลี และกลุ่มประเทศบอลข่าน

ทั้งนี้ โรคที่สำคัญจะอธิบายภายใต้หัวข้อของโรค ดังต่อไปนี้

โรคริคเก็ตเซียลพอกซ์ (Rickettsialpox)

แมลง: ไรหนูบ้าน (House-mouse mites)

เชื้อ: แบคทีเรีย Rickettsia akari

การติดเชื้อในคนมักเกิดขึ้นเมื่อหนูตายตามธรรมชาติหรือถูกกำจัด เนื่องจากไรหนูจะออกไปหาสัตว์ตัวใหม่เพื่ออาศัยและกินอาหาร การติดต่อเกิดจากการกัดของไรหนู มีการรายงานผู้ติดเชื้อบริเวณพื้นที่เขตเมืองในยูเครน รัสเซีย แอฟริกาใต้ เกาหลี โครเอเชีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา

โรคริกเกตเซียลพอกซ์ ถือเป็นโรคไม่รุนแรง ผู้ติดเชื้อจะดีขึ้นในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาการเริ่มแรกคือ ตุ่มบริเวณรอยกัดที่จะเห็นอยู่ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังถูกกัดและจะกลายเป็นรอยสะเก็ดสีดำ หลังจากนั้นไม่กี่วันอาจเกิดอาการคล้ายไข้หวัด พร้อมกับมีผื่นตามร่างกาย

 

โรคไข้พุพองเทือกเขาร็อคกี้ (Rocky Mountain Spotted Fever)

แมลง: เห็บสุนัขอเมริกัน (American Dog Tick) และ เห็บป่าเทือกเขาร็อคกี้ (Rocky Mountain Wood Tick)

เชื้อ: แบคทีเรีย Rickettsia rickettsia

โรคชนิดนี้อยู่ในกลุ่มโรคริคเก็ตเซียลที่พบได้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และยังพบทั่วไปในอเมริกาเหนือ กลาง และใต้ มีสัตว์ฟันแทะเป็นแหล่งของโรค โดยเป็นทั้งที่อาศัยของเห็บและแหล่งที่เห็บรับเชื้อก่อนระยะเต็มวัยด้วย

อาการที่มักพบในโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อคกี้ ได้แก่ อาการไข้ ปวดหัว ปวดท้อง อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นเป็นกลุ่มจุดสีแดงเล็กๆ ซึ่งอาจขึ้นหลังจากรับเชื้อไม่กี่วัน

 

 เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมลงกัดต่อย เช่น เหลือบม้า และ ยุง

ดูว่าเร็นโทคิลช่วยได้อย่างไร

ซาลโมเนลโลสิส (Salmonellosis)

แมลง: แมลงวันบ้าน (House Flies) แมลงวันหัวเขียว (Blow Flies) แมลงวันหลังลาย (Flesh Flies) และแมลงสาบ (Cockroaches)

เชื้อ: แบคทีเรีย Salmonella enterica

แบคทีเรียซาลโมเนลลา มีแมลงวันและแมลงสาบที่อยู่ใน 'สิ่งสกปรก' เป็นพาหะในการถ่ายทอดเชื้อด้วยการสัมผัสอุจจาระของมนุษย์หรือสัตว์ หรือสิ่งที่ปนเปื้อน

เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ตามข้อมูลของ CDC ประมาณการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณหนึ่งล้านราย โดย 19,000 รายต้องเข้าโรงพยาบาลและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เกือบ 400 รายต่อปี

แบคทีเรียสายพันธุ์ซาลโมเนลลามีการจำแนกที่ซับซ้อน มีสายพันธุ์ย่อยหกสายพันธุ์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2,500 serovars โดยมีจำนวนหนึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคในมนุษย์

เชื้อซาลโมเนลโลสิส มักได้รับจากน้ำและอาหารที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ปีกดิบ เนื้อบด และไข่ดิบ ความบกพร่องด้านอนามัยในการเก็บผักและผลไม้ สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลาน ลูกเจี๊ยบและลูกเป็ดก็เป็นสาเหตุของการติดเชื้อเช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัส สุขอนามัยและความสะอาดของมือเป็นวิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง

อาการของโรคประกอบด้วย ท้องร่วง เป็นไข้ อาเจียน และปวดท้อง คนส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วันโดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม นอกจากทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไป เมื่อมีการติดเชื้อแล้ว เชื้อโรคสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ง่ายผ่านมือที่ไม่สะอาดและสุขอนามัยที่ไม่ดี

ไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์ (Typhoid Fever)

เป็น serovar หนึ่งของเชื้อ Salmonella (Salmonella enterica subsp. enterica serovar Typhi) ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง ซึ่งกระจายจากลำไส้ไปยังระบบเลือดและต่อมน้ำเหลือง และไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคนี้พบในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ มีผู้ได้รับผลกระทบมากถึง 27 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในอินเดียและในเด็ก โรคนี้เกิดเฉพาะในมนุษย์และแพร่เชื้อโดยการปนเปื้อนอุจจาระ ดังนั้นสุขอนามัยที่ไม่ดีจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โรคชนิดนี้ยังคงอยู่ โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีน

 

เรียนรู้วิธีสังเกตุสัญญาณเบื้องต้นของปัญหาแมลงวัน

เรียนรู้บริการกำจัดแมลงสาบในบ้านหรือธุรกิจคุณ

โรคบิดชิเกลลา (Shigellosis)

สัตว์พาหะ: แมลงวันบ้าน (House Flies) แมลงวันหัวเขียว (Blow Flies) แมลงวันหลังลาย (Flesh Flies) และแมลงสาบ (Cockroaches)

เชื้อ: แบคทีเรีย Shigella

โรคบิดชิเกลลา เป็นเชื้อโรคหลักที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและบิด โดยมีผู้ติดเชื้อประมาณ 90 ล้านรายต่อปี การติดต่อเกิดจากการรับเชื้อเข้าไปทางอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ แบคทีเรียชนิดนี้เกิดเฉพาะในมนุษย์และสัตว์ประเภทลิง เชื้อจะอาศัยอยู่ในสภาพสุขอนามัยที่ไม่ดี ซึ่งเชื้อจำนวนเพียง 10-100 ตัว ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้

เมื่อได้รับเชื้อจะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์จึงแสดงอาการ โดยมีอาการถ่ายท้องเป็นเลือด มีมูกหรือหนอง เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดบิดในท้อง และมีลม ซึ่งจะมีอาการอยู่หลายวันหรือหลายสัปดาห์ ในรายที่อาการรุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

 

เรียนรู้วิธีการกำจัดแมลงวัน

เรียนรู้วิธีการป้องกันแมลงสาบ

โรคไข้สมองอักเสบจากเห็บ (Tick-borne encephalitis)

แมลง: เห็บ

เชื้อ: ไวรัส Flavivirus

มีการพบโรคสามชนิดในยุโรป/ตะวันตก ตะวันออกไกลและไซบีเรีย ตลอดบริเวณยูเรเชียตั้งแต่อิตาลีทางตอนใต้ของยุโรปจนถึงฟินแลนด์ทางตอนเหนือ ตั้งแต่ตอนใต้ของรัสเซียและประเทศใกล้เคียงไปจนถึงทางเหนือของประเทศจีนและเกาหลี โดยมีรายงานผู้ติดเชื้อประมาณ 5-7,000 รายต่อปี ในยุโรปและรัสเซีย

มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และปวดหลัง โรคนี้ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางในผู้ป่วยประมาณ 30% และทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต และมีโอกาส 1-2% ที่จะเสียชีวิต

 

โรคทูลารีเมีย (Tularaemia)

แมลง: เห็บ (Ticks) เหลือบกวาง (Deer Flies) เหลือบม้า (Horse Fly) ยุง (Mosquitoes)

เชื้อ: แบคทีเรีย Francisella tularensis

แบคทีเรีย Francisella tularensis มีอยู่ในหลายสภาพภูมิศาสตร์ทั่วซีกโลกเหนือ การติดเชื้อมีลักษณะเป็นฤดูกาลและเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ซึ่งมีผลกับสภาวะการขยายพันธุ์ของสัตว์พาหะ ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก มีการวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับโรคนี้ สัตว์ป่าหลายชนิดเป็นตัวนำโรคและแมวบ้านเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

แบคทีเรียชนิดนี้ติดต่อได้ง่าย โดยอาศัยจำนวนเพียงเล็กน้อยก็สามารถติดได้ ทั้งนี้ ไม่พบว่ามีการติดจากคนสู่คน เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ภายในเซลล์ของสัตว์เท่านั้น และต้องใช้กระบวนการภายในเซลล์เพื่อดำรงอยู่

แบคทีเรียนี้มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีความรุนแรงต่างกัน และพบในสภาพภูมิประเทศที่ต่างกัน โรคทูลารีเมียติดต่อได้ง่ายผ่านทางผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน ผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ได้รับเชื้อหรือวัตถุจากสัตว์ แพร่สู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และการสูดดมฝุ่นหรือละอองที่มีเชื้อ

การติดเชื้อแต่ละแบบมีอาการต่างกัน โดยมักมีอาการอักเสบและบวมบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น ตา รอยกัด ปอด และอาการบวมใกล้ต่อมน้ำเหลือง เชื้อสามารถแพร่กระจายสู่ระบบอวัยวะได้หลายระบบ รวมทั้ง ปอด ตับ ม้าม และระบบต่อมน้ำเหลือง โดยขึ้นอยู่กับเส้นทางการติดเชื้อ ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

 

เรียนรู้วิธีการกำจัดยุง

บรรณานุกรม

Wikipedia: www.wikipedia.com

US Centers for Disease Control: https://www.cdc.gov/

WHO. Public Health Significance of Urban Pests. WHO, Copenhagen, 2008.

European Centre for Disease Prevention and Control: http://ecdc.europa.eu/

WHO. A global brief on vector-borne diseases. WHO, Geneva, 2014.

Cases of sleeping sickness drop to lowest level in 75 years http://www.who.int/trypanosomiasis_african/cases_drop_to_lowest_since_75_years/en/

WHO. Investing to overcome the global impact of neglected tropical diseases: third WHO report on neglected diseases 2015. WHO, Geneva.

WHO. Global strategy for dengue prevention and control 2012-2020. WHO. Geneva, 2012

The European Food Safety Authority http://www.efsa.europa.eu/

Graczyk TK, Knight R and Tamang L. Mechanical Transmission of Human Protozoan Parasites by Insects. Clin Microbiol Rev. 2005 Jan; 18(1): 128–132. doi: 10.1128/CMR.18.1.128-132.2005

 

สาขาบริการที่ใกล้บ้านคุณ

สอบถามเพิ่มเติม

9 เหตุผลทำไมต้องเร็นโทคิล?

เหตุผลที่คุณต้องไว้วางใจและใช้บริการจากเร็นโทคิลดูแลบ้านและธุรกิจ