02 290 8500 สำรวจพื้นที่ฟรีที่เบอร์ หรือ ติดต่อเรา

ปัญหาและโรคจากสัตว์รบกวน

หากพบว่าถูกกัด หรือต่อยจากอะไรบางอย่าง แต่ยังไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร? สัตว์รบกวนเหล่านี้อาจน่ารำคาญ และทำให้คุณไม่สบายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้ง 

เชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Infections)

การติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสซิกาที่แพร่สู่คน ผ่านการกัดของยุงลาย (Aedes mosquito) ที่มีเชื้อ อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ มีไข้ ขึ้นผื่น ปวดข้อ และเยื่อบุตาอักเสบ (ตาแดง)

โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)

เป็นโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายผ่านการกัดของยุงลาย (Aedes mosquito) อาการช่วงแรกจะมีไข้สูงฉับพลัน มีผื่น ปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้หากเชื้อลุกลาม

แมลง สัตว์กัดต่อย

แมลง เช่น หมัด และตัวเรือด จะกัดและฉีดน้ำลายเข้าไปในเลือดของเหยื่อเพื่อไม่ให้แข็งตัว โดยน้ำลายของมันมักทำให้ระคายเคืองที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบและบวม นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเจ็บป่วยอื่นๆได้

โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

เป็นโรคร้ายแรงจากการรับเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปโรซิสในปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะหนูท่อ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง อาเจียน และท้องเสีย ทั้งยังอาจทนทุกข์จากเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษา

งูกัด

งูพิษกัด นับว่าอันตรายถึงชีวิต ซึ่งอาการเมื่อถูกงูกัดจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ของงู หรืออาจเกิดอาการบวมทันที วิงเวียน และหายใจลำบาก

โทรหาเราที่เบอร์ 02 290 8500 หรือ 1800 225 226 (โทรฟรี) หรือติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อขอคำแนะนำหรือรับการสำรวจสถานที่ฟรี

โรคจากสัตว์ฟันแทะ

เนื่องจากมนุษย์ขยายอาณาเขตเข้าไปในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมากขึ้น เราจึงยิ่งเข้าใกล้สัตว์ฟันแทะ และเชื้อโรคหลายสายพันธุ์มากยิ่งขึ้น

นอกจากหนูท่อและหนูบ้าน สัตว์ฟันแทะชนิดอื่นที่อาจนำโรคมาสู่มนุษย์ ได้แก่ หนูแพรี่ด็อก (Prairie Dogs) ตัวกราวน์ฮ็อก (Groundhogs) กระรอกดิน (Ground Squirrels) ตัวเลมมิ่ง (Lemmings) และตัวโวล (Voles)

อันที่จริงแล้ว สัตว์ฟันแทะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากกว่าสงครามที่เกิดขึ้นในรอบ 1,000 ปีมานี้เสียอีก

ซาลโมเนลโลสิส (Salmonellosis)

ซาลโมเนลลา เป็นแบคทีเรียที่มากับสัตว์ฟันแทะ ซึ่งทำให้มนุษย์เจ็บป่วยได้

เล็ปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)

เล็ปโตสไปโรสิส เป็นการติดเชื้อจากฉี่ของสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อเล็ปโตสไปรา (leptospira)

โรคฉี่หนู (Weil’s Disease)

ประมาณ 10% ของผู้ที่ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรสิสจะเป็นโรคฉี่หนู

โรคทูลารีเมีย (Tularaemia)

โรคทูลารีเมีย เกิดจากไวรัส Francisella tularensis พบในสัตว์ฟันแทะและแมลง

บาร์โตเนลโลสิส (Bartonellosis)

บาร์โตเนลโลสิส เกิดจากแบคทีเรีย Bartonella ซึ่งติดต่อผ่านแมลงปรสิตที่อาศัยอยู่กับสัตว์ฟันแทะ

พยาธิตืดหนู (Rat Tapeworm)

พยาธิตืดหนูมีสองชนิด คือ Hymenolepis nana และ H. diminuta ทั้งสองชนิดมีแมลงปีกแข็งจำพวกด้วงเป็นพาหะขั้นทุติยภูมิ

มนุษย์ติดโรคจากสัตว์ฟันแทะได้อย่างไร?

  • การสูดดมหรือสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของสัตว์ฟันแทะ (ฉี่ อุจจาระ น้ำลาย)
  • การสัมผัสหรือสูดดมละอองจุลชีพที่ติดมากับละอองเกสร กองไม้ หรือวัตถุอื่นๆ ที่ปนเปื้อนฉี่ของสัตว์ฟันแทะที่ติดเชื้อ
  • ฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายจากการกำจัดแหล่งที่อยู่ของสัตว์ฟันแทะ
  • การกำจัดสัตว์ฟันแทะโดยนักล่าหรือผู้อื่่น
  • การกัดของสัตว์ฟันแทะ — จุลชีพที่อยู่ในน้ำลายสามารถติดต่อได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ฟันแทะตัวอื่น
  • การข่วนโดยสัตว์ฟันแทะ
  • การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนหรือรับประทานอาหารปนเปื้อน
  • สัตว์ฟันแทะนำพาปรสิตภายนอก (เห็บ หมัด ไร เหา) ที่มีเชื้อก่อโรคหลายชนิด
  • สุนัข แมว และสุนัขจิ้งจอก (โดยเฉพาะในเขตเมือง) ที่กินสัตว์ฟันแทะและติดปรสิต เช่น พยาธิตืดหนู ซึ่งสามารถแพร่ไปสู่มนุษย์ได้
  • สัตว์ฟันแทะยังเป็นแหล่งของโรคหลายชนิดที่มีแมลงบินเป็นพาหะ

ซาลโมเนลโลสิส (Salmonellosis)

สัตว์ฟันแทะสามารถนำเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่ก่อโรคกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ การติดเชื้อเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของสัตว์ฟันแทะ

แหล่งเชื้อโรคที่ทำให้ติดเชื้อ มักเป็นอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของสัตว์ในฟาร์ม

การศึกษาพันธุกรรมของ Salmonella พบว่า มีความซับซ้อนมาก จึงทำให้ยากต่อการจำแนก โดยทราบกันว่ามีสองสายพันธุ์หลัก และมีสายพันธุ์ย่อยและชนิดย่อยจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า serovar

  • Salmonella enterica มี 6 สายพันธุ์ย่อย และ 2,500 serovar ถือเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อซาลโมเนลโลสิสในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลาย serovar เป็นที่มาของโรคสำคัญหลายชนิดในมนุษย์ และมักพบในสายพันธุ์ย่อย I เป็นหลัก
  • S. bongori มักพบในสัตว์เลื้อยคลาน แต่สามารถติดมาถึงมนุษย์ได้ผ่านการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง

อาการของซาลโมเนลลา

อาการจะปรากฏภายใน 12 ถึง 72 ชั่วโมงหลังจากติดเชื้อ โดยมีอาการดังนี

  • ท้องร่วง
  • เป็นไข้
  • อาเจียน
  • ปวดในช่องท้อง

การรักษาซาลโมเนลลา

คนส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา นอกจากการทดแทนการขาดน้ำ

เมื่อติดเชื้อแล้ว เชื้อโรคสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายถ้าไม่รักษาความสะอาดหรือสุขอนามัยให้ดี

ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ NHS ของสหราชอาณาจักร แนะนำให้ทำความสะอาดโถรองนั่ง โถส้วม ที่กดน้ำ หัวก็อก และอ่างล้างมือหลังจากการใช้ด้วยน้ำร้อนและสารซักฟอก ตามด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

ไทฟอยด์

สายพันธุ์หนึ่งของ Salmonella คือ S. Typhi ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงและแพร่กระจายจากลำไส้ไปยังระบบเลือดและน้ำเหลือง และไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

ไข้ไทฟอยด์

ไข้ไทฟอยด์ (ชื่อเต็ม Salmonella enterica subsp. enterica serovar Typhi) แพร่กระจายอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ซึ่งมีสุขอนามัยที่ไม่ค่อยดีนัก และมีผู้ติดเชื้อนี้ถึง 27 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในเด็ก

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ได้ จึงไม่มีแนวโน้มที่จะติดต่อผ่านหนู นอกจากหนูจะสัมผัสอุจจาระของมนุษย์โดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ในระบบท่อระบายของเสีย

ไทฟอยด์สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ โดยมีวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อ

เล็ปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)

เล็ปโตสไปโรสิส เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Leptospira โดยรับเชื้อจากฉี่ของสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ฟันแทะ วัว หมู และสุนัข

มนุษย์ติดเชื้อได้โดย

  • สัมผัสโดยตรงกับฉี่หรือของเหลวอื่นๆ จากสัตว์ (ยกเว้นน้ำลาย) ที่ติดเชื้อ
  • สัมผัสกับดิน น้ำ หรืออาหารที่ปนเปื้อนฉี่ของสัตว์ที่ติดเชื้อ

แบคทีเรียอาศัยอยู่ในไตของสัตว์และถ่ายเทเชื้อออกมาผ่านปัสสาวะ ซึ่งอยู่ในดินหรือน้ำได้นานนับสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน

แบคทีเรียนอกจากจะเข้าสู่ร่างกายทางปากแล้ว ยังสามารถผ่านทางผิวหนังได้ โดยเฉพาะผิวหนังที่เปิดจากรอยข่วนหรือบาดแผล และเยื่อเมือกบริเวณตา จมูก และปาก

ความเสี่ยง

เล็ปโตสไปโรสิส พบได้ทั้งในเขตภูมิอากาศอบอุ่นและเขตร้อน แต่จะพบมากในเขตร้อนและกึ่งร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อ

คนส่วนใหญ่มีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม ในอาชีพหรือกิจกรรมที่มีการสัมผัสกับสัตว์หรือแหล่งน้ำจืด จะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น

อาชีพและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง

  • ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์
  • คนงานโรงฆ่าสัตว์
  • สัตวแพทย์
  • คนงานระบบท่อระบาย
  • คนงานเหมือง
  • คนทำงานกับปลา
  • ตกปลา
  • แล่นเรือใบ
  • ว่ายน้ำ

อาการของเล็ปโตสไปโรสิส

เล็ปโตสไปโรสิสจะแสดงอาการภายใน 7-14 วัน โดยจะมีไข้อ่อนๆ ไปจนถึงอาการหนักเหมือนไข้หวัดใหญ่ เช่น

  • ปวดหัว
  • หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ตาแดง
  • ท้องร่วง
  • ผื่นตามร่างกาย

สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ

โรคฉี่หนู (Weil's disease)

ประมาณ 10% ของผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรสิส จะพัฒนาเป็นโรคร้ายแรงขึ้น หรือที่เราเรียกว่า "โรคฉี่หนู" ซึ่งอาจนำไปสู่อาการอวัยวะล้มเหลว เลือดออกภายใน และเสียชีวิตได้

อาการของโรคฉี่หนู

  • ตัวเหลือง
  • ข้อเท้า เท้า หรือมือบวม
  • เจ็บหน้าอก
  • มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือไข้สมองอักเสบ เช่น ปวดหัว อาเจียน และชัก
  • ไอเป็นเลือด

การรักษาโรคฉี่หนู

ต้องรักษาโดยด่วนในโรงพยาบาลที่มีเครื่องช่วยหายใจ เครื่องฟอกไต สามารถให้ยาปฏิชีวนะและของเหลวผ่านหลอดเลือดได้

โรคไข้หนูกัด (Rat Bite Fever)

โรคไข้หนูกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformis และ Spirillum minus โดยจะถ่ายทอดผ่านการกัด ฉี่ และอุจจาระของสัตว์ฟันแทะ

กาฬโรค (The Plague)

กาฬโรค เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะ หนูดำ

ฮันตาไวรัส (Hantavirus)

ฮันตาไวรัส เกิดจากการสัมผัสฉี่ น้ำลาย หรืออุจจาระของสัตว์ฟันแทะ

โรคไข้หนูกัด (Rat-bite fever)

โรคไข้หนูกัดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสองชนิดได้แก่ Streptobacillus moniliformis และ Spirillum minus

จะพบเชื้อในอุจจาระ ฉี่ สารคัดหลั่งจากปาก จมูก และตา ของสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อ

มักได้รับเชื้อผ่านการกัดหรือข่วนโดยหนูและสัตว์ฟันแทะอื่นๆ เช่น กระรอก หนูเจอร์บิล และอาจได้รับเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ดังกล่าว การรับประทานหรือดื่มเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระและฉี่ของสัตว์ฟันแทะ

อาการของโรคไข้หนูกัด

อาการของโรคไข้หนูกัด แตกต่างไปตามเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมี 2 ชนิด

  • เชื้อ Streptobacillus จะแสดงอาการภายใน 3-10 วันหลังติดเชือ โดยมีอาการไข้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ หวดหัว ปวดข้อ และเป็นผื่น
  • เชื้อ Spirillum จะแสดงอาการภายใน 7-21 วันหลังติดเชื้อ โดยมีอาการไข้เรื้อรัง แผลระบมบริเวณที่โดนกัด อาการบวมรอบแผล ต่อมน้ำเหลืองโต และอาการผื่น

นอกจากนี้อาจมีอาการรุนแรง เช่น

  • การติดเชื้อที่หัวใจ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (สมองติดเชื้อ)
  • ปอดบวม (ปอดติดเชื้อ)
  • อาการอักเสบที่อวัยวะภายใน

การติดเชื้อทั้งสองชนิดสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

รายงานการเกิดโรคไข้หนูกัด พบน้อยมากในยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดให้รายงาน จึงอาจน้อยกว่าความเป็นจริง

กาฬโรค (Plague)

กาฬโรค เป็นโรคดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับหนู มีประวัติการระบาดตลอดช่วงประวัติศาสตร์และทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การระบาดเกิดตามเส้นทางการเดินทาง ทั้งทางบกและการค้าขายทางทะเล จนไปสู่เขตเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น

โรคนี้เกิดจากแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งถ่ายทอดกันระหว่างสัตว์ฟันแทะและหมัด สัตว์ฟันแทะหลายสายพันธุ์เป็นแหล่งสะสมระยะยาวของเชื้อแบคทีเรียกาฬโรคในธรรมชาติ

การติดต่อสู่คน

  1. หมัดกัด หนู สัตว์ฟันแทะ สุนัข และแมว อาจนำพาหมัดที่ติดเชื้อเข้ามา เมื่อสัตว์ที่เป็นแหล่งอาหารของมันตายลง หมัดก็จะหาสัตว์ตัวอื่นเพื่ออาศัยเป็นแหล่งอาหารต่อไป ซึ่งสามารถก่อให้เกิดกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง หรือ กาฬโรคในกระแสเลือด
  2. การปนเปื้อนจากสัตว์ การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือของเหลวของสัตว์ที่ติดเชื้อ สามารถก่อให้เกิดกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองหรือกาฬโรคในกระแสเลือดได้ โดยแมวและสัตว์กินเนื้ออื่นๆ จะรับเชื้อกาฬโรคจากการกินสัตว์ฟันแทะและแพร่เชื้อสู่มนุษย์
  3. ละอองเชื้อ เมื่อเชื้อเข้าสู่ปอด การไอจะทำให้เกิดละอองเชื้อในอากาศ ซึ่งเมื่อผู้ที่อยู่ใกล้สูดดมเข้าไป จะทำให้เกิดกาฬโรคปอดได้

อาการของกาฬโรค

อาการของกาฬโรคแตกต่างกันตามการรับเชื้อ

  1. กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง อาการทั่วไป คือ บวมตามต่อมน้ำเหลือง (buboes) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียอาจเพิ่มจำนวนและแพร่กระจาย หากไม่ได้รับการรักษา นอกจากนั้น ยังมีอาการไข้ขึ้นเฉียบพลัน และอ่อนเพลียรุนแรง
  2. กาฬโรคในกระแสเลือด อาการไข้ อ่อนเพลียรุนแรง ท้องเสีย ภาวะเพ้อ ปวดท้อง ช็อก และเลือดออกในผิวหนังหรืออวัยวะอื่นๆ ผิวหนังและเนื้อเยื่อจะกลายเป็นสีคล้ำดำและตาย โดยเฉพาะบริเวณปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และปลายจมูก
  3. กาฬโรคปอด อาการไข้ ช็อก ปอดบวม หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอ และมีเมือกเป็นเลือด

การรักษากาฬโรค

กาฬโรคสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

จะต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในสองสัปดาห์

กาฬโรคในกระแสเลือด อาจทำให้เสียชีวิตก่อนปรากฏอาการ และสำหรับกาฬโรคปอด ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาทุกรายจะเสียชีวิต ในกรณีที่หมัดกัดหรือการเข้าไปในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรค จึงควรปรึกษาแพทย์

ฮันตาไวรัส (Hantavirus)

สัตว์ฟันแทะหลายสายพันธุ์เป็นพาหะของฮันตาไวรัส โดยเฉพาะ ตัวโวลและหนู

อาการ

สัตว์ฟันแทะหลายสายพันธุ์ เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสหลายชนิดที่มีความรุนแรงต่างกัน แต่จะแสดงอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน

การติดต่อ

มนุษย์สามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสปัสสาวะของสัตว์ฟันแทะ น้ำลาย อุจจาระ การสัมผัสอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน หรือสูดดมฝุ่นละอองที่มีเชื้อโรค

เอเชีย

การติดเชื้อรุนแรง เกิดจากฮันตาไวรัสในประเทศจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และตะวันออกไกลของรัสเซีย โดยมีหนูนาเป็นพาหะของเชื้อโรค

ยุโรป

ในยุโรป สัตว์พาหะหลักคือ ตัวแบงค์โวล (Bank Vole) เป็นพาหะของเชื้อ Puumala virus ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกที่มีอาการทางไตร่วม (HFRS) ชนิดไม่รุนแรง แต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยจำนวนมากในประเทศฟินแลนด์ ประเทศยูโกสลาเวียเดิม สวีเดน เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ และเนเธอร์แลนด์

ไวรัส Dobrava ก่อให้เกิดโรค HFRS ชนิดรุนแรง พบได้ในยุโรปตอนใต้ โดยมีหนูคอเหลือง (Yellow-necked mouse) เป็นพาหะ ส่วนชนิดไม่รุนแรงที่เกิดจากไวรัส Saaremaa ซึ่งมีหนูนาเป็นพาหะ มักพบในเอสโตเนียและบริเวณใกล้เคียงคือ รัสเซีย

อเมริกา

พบฮันตาไวรัสหลายสายพันธุ์ในสัตว์ฟันแทะ ชนิดที่สำคัญที่สุด คือ ไวรัส Sine Nombre ซึ่งมีหนูเดียร์ (Deer mice) เป็นพาหะ พบในแคนาดา เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการปอดฮันตาไวรัส (Hantavirus pulmonary syndrome) ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูง

โรคทูลารีเมีย (Tularaemia)

โรคทูลารีเมีย เกิดจากไวรัส Francisella tularensis พบในสัตว์ฟันแทะและแมลง

บาร์โตเนลโลสิส (Bartonellosis)

บาร์โตเนลโลสิส เกิดจากแบคทีเรีย Bartonella ซึ่งติดต่อผ่านแมลงปรสิตที่อาศัยอยู่กับสัตว์ฟันแทะ

พยาธิตืดหนู (Rat Tapeworm)

พยาธิตืดหนูมีสองชนิด คือ Hymenolepis nana และ H. diminuta ทั้งสองชนิดมีแมลงปีกแข็งจำพวกด้วงเป็นพาหะขั้นทุติยภูมิ

โรคทูลารีเมีย (Tularemia)

โรคทูลารีเมีย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Francisella tularensis โดยมีหลายสายพันธุ์และมีความรุนแรงต่างกัน อีกทั้งยังพบในสภาพภูมิประเทศที่ต่างกัน

ตามการจัดอันดับอนุกรมวิธาน ถูกจำแนกอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียในเซลล์แบบดั้งเดิม ซึ่งประกอบด้วย ลิสทีเรีย (Listeria) เลเจียเนลลา (Legionella) บรูเซลลา (Brucella) ค็อกเซียลา (Coxiella) และริคเก็ตเซีย (Rickettsia) แบคทีเรียเหล่านี้เป็นแบคทีเรียกที่แยกออกมาเป็นสาขาหนึ่งของแบคทีเรียดั้งเดิม ซึ่งมีเพียงสายพันธุ์เดียวในวงศ์ Francisellaceae: F. philomiragia. อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมอาจนำไปสู่การจำแนกอยู่ในสายพันธุ์ใหม่ได้

พบเชื้อในสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายบริเวณซีกโลกเหนือ

โรคทูลารีเมีย ติดหรือนำพาโดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ขาปล้อง (Arthropod) หลายชนิด ได้แก่

สัตว์ฟันแทะ: ที่เป็นพาหะของทูลารีเมีย ประกอบด้วย ตัวโวล (Voles) หนูบ้าน (Mice) หนูท่อ (Rats) มัสแครต (Muskrats) บีเวอร์ (Beavers) กระรอกดิน (Ground squirrels) เลมมิง (Lemmings) และหนูแฮมสเตอร์ (Hamsters) โดยกระต่ายป่า (Rabbits) และ กระต่ายบ้าน(Hares)

การแพร่กระจายสู่มนุษย์ สัมพันธ์กับจำนวนประชากรสัตว์ฟันแทะและกระต่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

เห็บและหมัด: พบแบคทีเรียในเห็บและหมัดหลายสายพันธุ์ โดยระดับของการติดเชื้อมีหลากหลาย ความสำคัญของแต่ละสายพันธุ์ต่อการติดเชื้อของมนุษย์จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนัก

ยุง: ในกลุ่มยุง สายพันธุ์ Aedes Culex และ Anopheles เป็นสายพันธุ์นำโรค

แมลงวันกัด: ในกลุ่มแมลงวันกัด เหลือบม้า (Tabanus spp. และ Chrysozona spp.) และเหลือบกวาง (Chrysops spp.) จะนำเชื้อโรคมาจากสัตว์พาหะและแพร่เชื้อโรคไปยังสัตว์ตัวอื่น

มนุษย์ติดโรคทูลารีเมียได้อย่างไร?

แบคทีเรียทูลารีเมีย เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางผิวหนัง ตา ปาก คอ หรือปอด ซึ่งเกิดจาก

  • สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ
  • สูดดมฝุ่นหรืออากาศที่มีเชื้ออยู่
  • รับประทานอาหารที่ปนเปื้อน
  • ดื่มน้ำปนเปื้อน
  • ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าหรือเนื้อสัตว์ที่มีเชื้ออยู่

ไม่พบการติดเชื้อจากคนสู่คน (ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบของการต่อสู้ทางชีวภาพ ซึ่งจำกัดการติดเชื้อสู่ประชากรเป้าหมาย) หรือการส่งผ่านเชื้อโดยตรงจากมนุษย์สู่มนุษย์ผ่านสัตว์ขาปล้อง (หมัด เห็บ ยุง และแมลงวันชนิดที่กัด)

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการติดโรคอาศัยเพียงแบคทีเรียจำนวนน้อย จึงทำให้พบโรคนี้ได้ค่อนข้างมาก

อาการของทูลารีเมีย

อาการทูลารีเมียแตกต่างกันไปตามวิธีการได้รับเชื้อ แต่ทุกชนิดทำให้มีไข้

  • อาการแผลและต่อมน้ำเหลืองโต (ulceroglandular) เกิดจากการกัดหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่ติดเชื้อ โรคทูลารีเมียชนิดนี้จะพบได้บ่อยที่สุด จะมีอาการผิวหนังอักเสบในบริเวณที่ติดเชื้อ และต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณรักแร้และขาหนีบ
  • อาการในต่อม (glandular) ต่อมน้ำเหลืองโตหลังจากถูกกัด แต่ไม่มีอาการผิวหนังอักเสบ
  • อาการในปอด (pneumonic) เกิดจากการสูดเอาฝุ่นหรือละอองเชื้อเข้าไป ทำให้มีอาการไอ เจ็บหน้าอก และหายใจลำบาก เป็นการติดเชื้อชนิดที่รุนแรงที่สุด
  • อาการในต่อมลูกตา (occuloglandular) เกิดการติดเชื้อในตาและอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองบริเวณหู
  • อาการในคอ (oropharyngeal) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ ประกอบด้วยอาการเจ็บคอ แผลในปาก ทอนซิลอักเสบ และอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ

จะมีอาการต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคชนิดอื่น เนื่องจากโรคนี้พบได้ค่อนข้างน้อย

การรักษาทูลารีเมีย

ทูลารีเมีย ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด หากไม่ได้รับการรักษา โรคอาจกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ม้าม ตับ และระบบต่อมน้ำเหลือง

ภาพแสดงผิวหนังที่ถูกหนูกัดและมีการติดเชื้อ

ที่มา: Wikimedia commons: CDC  

 

บาร์โตเนลโลสิส (Bartonellosis)

บาร์โตเนลโลสิส เกิดจากแบคทีเรีย Bartonella หลายสายพันธุ์ โดยมีสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะ ก่อให้เกิดอาการหลายรูปแบบ โรคจะติดต่อระหว่างสัตว์ผ่านสัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง (Arthropod) เช่น เห็บ หมัด แมลงวันทราย เหา และยุง

ไข้เทรนช์ (Trench fever)

สายพันธุ์ของเชื้อโรคที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ B. Quintana ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เทรนช์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แพร่กระจายผ่านเหาลำตัว (Body Louse) สายพันธุ์นี้ไม่เป็นที่ทราบว่ามีสัตว์ตัวกลางนำโรค อย่างไรก็ตาม โรคแมวข่วนเกิดจากแบคทีเรีย Bartonella หลายสายพันธุ์เช่นกัน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

เชื้อ Bartonella elizabethae พบในหนูแถบอเมริกา เอเชีย และยุโรป ส่วนอีกหลายสายพันธุ์ที่มีผลต่อมนุษย์พบใน กระรอกดิน (ground squirrels) และ หนูเดียร์ (deer mice) ในประเทศไทย คนไข้ที่ติดเชื้อจะมีอาการหัวใจอักเสบ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) และโรคตา (โรคจอประสาทตา) สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

ท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplastmosis)

โรคท็อกโซพลาสโมซิส เป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii

กรมควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ประเมินว่ากว่า 22% ของประชากรได้รับเชื้อ ขณะที่หน่วยงานระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ในสหราชอาณาจักร ประเมินว่ามีประชากรมากกว่า 350,000 รายที่ติดเชื้อนี้

สัตว์พาหะหลักคือ แมว แต่พบว่ามีสัตว์ฟันแทะและสัตว์ขนาดเล็กเป็นพาหะนำโรคนี้ด้วย สามารถติดต่อสู่คนผ่านการปนเปื้อนอุจจาระแมว การกินเนื้อดิบและผักที่มีเชื้อนี้ปน

พยาธิตืดหนู (Rat tapeworm)

พยาธิตืดหนู มี 2 ชนิด คือ Hymenolepis nana และ H. diminuta ทั้งสองสายพันธุ์มีแมลงปีกแข็งจำพวกด้วง (เช่น มอดแป้ง) เป็นสัตว์พาหะทุติยภูมิ ซึ่งพบในเขตอากาศอบอุ่นทั่วโลก

H. nana เป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลายที่สุด โดยมีลักษณะต่างจากหนอนพยาธิชนิดอื่น คือ สามารถมีชีวิตตลอดวงจรในลำไส้ของมนุษย์และแพร่จากคนสู่คนผ่านไข่พยาธิในอุจจาระ มันจะเกาะผนังลำไส้และดูดซึมสารอาหารผ่านเยื่อบุผนังลำไส้

การติดต่อ

มนุษย์ติดโรคพยาธิผ่านการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ประเภทด้วงและหนู หรือผ่านการสัมผัสผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อน แล้วนำเข้าไปในร่างกายด้วยมือ

อาการโรคพยาธิตืดหนู

การติดเชื้อเล็กน้อยอาจไม่ทำให้เกิดโรค พบน้อยในผู้ใหญ่แต่จะมีอาการรรุนแรงในเด็ก โดยทำให้เกิดอาการเหล่านี้ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ ท้องร่วง เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด นอนหลับไม่สนิท ระคายเคืองทวารหนักและจมูก

หนอนพยาธิแคพพิลาเรีย (Capillariasis)

โรคหนอนพยาธิแคพพิลาเรีย เกี่ยวข้องกับสัตว์ฟันแทะ เกิดจากพยาธิสายพันธุ์ nematode (พยาธิตัวกลม) ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Capillaria hepatica วงจรชีวิตพยาธิตัวกลมมีความพิเศษคือ มันอาศัยสัตว์ตัวเดียวและจะกระจายไข่เพื่อขยายพันธุ์ก็ต่อเมื่อสัตว์ตัวนั้นตาย

สัตว์ฟันแทะเป็นแหล่งอาศัยหลักของพยาธิชนิดนี้ แต่มันสามารถอาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นได้เช่นกัน รวมทั้งมนุษย์ด้วย

วงจรชีวิต

การติดเชื้อเริ่มจากการเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหาร น้ำ และดินที่ปนเปื้อนไข่พยาธิใน "สภาวะสิ่งแวดล้อม”

  • ไข่ฟักออกเป็นตัวอ่อนในลำไส้ โดยจะไชไปตามผนังลำไส้ เพื่อเข้าไปยังระบบเลือดและตับ
  • ตัวอ่อนในตับจะเติบโตขึ้นเป็นตัวเต็มวัยภายใน 18-21 วัน และวางไข่ในเนื้อเยื่อตับ โดยไข่จะไม่โตเป็นตัวอ่อนจนกว่าจะได้ใช้เวลาในสิ่งแวดล้อมนั้นอย่างเพียงพอ ซึ่งมักเป็นตอนที่สัตว์ตัวนั้นตายหรือถูกกินโดยผู้ล่า
  • เมื่อสัตว์ฟันแทะนั้นถูกกิน ไข่จะไม่ฟักตัว แต่จะผ่านออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยมูลของสัตว์ผู้ล่า ไข่ของมันต้องการเวลา 4-5 สัปดาห์เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นตัว แต่สามารถคงอยู่ในสภาพไข่ได้นานหลายเดือน

อาการ

พยาธิตัวกลมตัวเต็มวัย อาศัยกินธาตุอาหารในตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานไปทีละน้อย เกิดการอักเสบ (ตับอักเสบ) และเกิดความผิดปกติในการสร้างเนื้อเยื่อ เมื่อตับตอบสนองต่อการตายของตัวเต็มวัยและไข่ที่พยาธิวางไว้

โรคพยาธิไฮดาติด (Echinococcosis)

โรคพยาธิไฮดาติด เกิดจากพยาธิตัวตืด Echinococcus หลายสายพันธุ์ มีสัตว์กินเนื้อเป็นพาหะ เช่น สุนัขจิ้งจอก (foxes) หมาป่าไคโยตี (coyotes) และหมาป่า (wolves) โดยสัตว์พาหะตัวกลางส่วนใหญ่คือ สัตว์กินหญ้าและหมู

พยาธิตัวตืด อย่างน้อยสามสายพันธุ์มีสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก เช่น หนู ตัวโวล และเลมมิ่ง เป็นสัตว์พาหะตัวกลาง ซึ่งส่งต่อถุงซิสต์ที่เป็นตัวอ่อนพยาธิไปยังแมวและสุนัขที่กินสัตว์เหล่านี้ โดยตัวอ่อนพยาธิก็จะถูกส่งต่อไปยังมนุษย์ผ่านอุจจาระของแมวและสุนัขอีกทอดหนึ่ง

ผลต่อร่างกายมนุษย์

เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ตัวอ่อนจะเติบโตออกมาจากถุง เจาะไชผนังลำไส้ และผ่านเข้าสู่ระบบโลหิตไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะในตับและปอด ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ได้ไม่จำกัดและทำลายเนื้อเยื่อรอบๆ

อาการโรคพยาธิไฮดาติด

อาจไม่ปรากฏอาการนานนับปี จนกระทั่งเนื้อเยื่อที่มีพยาธิ เกิดเป็นก้อนโตเหมือนเนื้องอก

  • พยาธิตับทำให้เกิดอาการปวดท้อง พยาธิปอดทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไอ และไอเป็นเมือกเลือด
  • หากเนื้อเยื่อฉีกขาด จะทำให้เป็นไข้ ผื่นผิวหนัง ปริมาณเม็ดเลือดขาวขึ้นสูง และภาวะช็อกจากอาการแพ้ ซึ่งเกิดจากตัวอ่อนจำนวนมากกระจายอยู่ภายในร่างกาย

บรรณานุกรม

Bonnefoy X, Kampen H, Sweeney K. Public Health Significance of Urban Pests. WHO, Copenhagen, 2008

WHO. A global brief on vector-borne diseases, WHO, Geneva, 2014
http://www.who.int/campaigns/world-health-day/2014/global-brief/en/

US CDC: www.cdc.gov

Wikipedia: https://en.wikipedia.org

UK NHS: www.nhs.uk

PARA-SITE http://parasite.org.au/

Webster JP, Macdonald DW (1995). Parasites of wild brown rats (Rattus norvegicus) on UK farms. Parasitology, 111:247–255. doi:10.1017/S0031182000081804.

Epidemic Typhus Associated with Flying Squirrels — United States.
www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/00001177.htm

Medscape: Rickettsialpox
http://emedicine.medscape.com/article/227956-overview

WHO guidelines on Tularemia, 2007
http://apps.who.int/iris/handle/10665/43793

The Center for Food Security and Public Health, Iowa State University
http://www.cfsph.iastate.edu/DiseaseInfo/factsheets.php

สาขาบริการที่ใกล้บ้านคุณ

สำรวจพื้นที่ฟรี

การป้องกัน-ควบคุมแมลงและสัตว์รบกวนแบบรายปี

การป้องกัน-ควบคุมแมลงและสัตว์รบกวนแบบรายปี ช่วยปกป้องคุณและครอบครัวจากสัตว์รบกวน