ผู้เชี่ยวชาญกำจัดสัตว์รบกวน
หากคุณพบปัญหาสัตว์รบกวนระบาดในพื้นที่ อย่าลังเลที่จะติดต่อเร็นโทคิล เราพร้อมบริการและปกป้องคุณจากอันตรายของสัตว์ที่ไม่ได้รับเชิญ
เวลาเจอปลวกขึ้นบ้าน หลายคนคุ้นชินกับการหยิบขวดสเปรย์มาฉีดปลวกทันที แต่แท้จริงแล้ว วิธีนี้อาจจะทำให้ปัญหาปลวกลุกลามไประบาดยังที่อื่นๆ ภายในบ้านต่อได้ เพราะการใช้ยาฉีดปลวกเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้กำจัดปลวกให้ถึงต้นตอ ซึ่งก็คือการทำลายรังปลวกที่อยู่ใต้ดิน แม้เราจะเห็นว่าทันทีที่ฉีดยาฆ่าปลวกไปแล้ว ปลวกจะตายเรียบ
แต่เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ก็จะพบว่าปลวกไประบาดอยู่ที่อื่นแทน ซึ่งความเสียหายอาจมากกว่าครั้งก่อนหน้าเพราะปลวกที่รอดจากรัศมีของยาฆ่าปลวกที่ฉีด จะส่งสัญญาณให้ปลวกตัวอื่นๆ ย้ายที่หาอาหารไปยังที่ที่เงียบกว่าเดิม ปลอดการรบกวนจากมนุษย์ ทำให้หายากขึ้นไปอีก
และกว่าคุณจะพบพวกมันอีกครั้ง อาจเกิดความเสียหายของข้าวของในบ้านไปแล้ว ดังนั้น หากคุณต้องการกำจัดปลวกให้ได้ผลจริงๆ ผู้เชี่ยวชาญเร็นโทคิลแนะนำให้กำจัดอย่างถูกวิธีและเลือกใช้สารเคมีกำจัดปลวกหรือยาฆ่าปลวกที่เหมาะสมจะดีกว่า
สำหรับบ้านที่ยังไม่พบปัญหาปลวก อาจไม่รีบร้อนในการป้องกัน แต่เราแนะนำให้ทุกบ้านหมั่นสำรวจตามจุดเสี่ยง และหากพบสัญญาณของปลวก พยายามอย่าใช้ยาฉีดปลวกเอง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลือกใช้สารเคมีกำจัดปลวก ซึ่งยากำจัดปลวกหรือสารเคมีกำจัดปลวกจะแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ
หากเป็นบ้านที่กำลังปลูกสร้าง เร็นโทคิลแนะนำให้เลือกใช้ยากำจัดปลวกที่ออกฤทธิ์แบบขับไล่ปลวก (Repellent Effect) ซึ่งมีสารออกฤทธิ์อยู่ในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) เช่น ไบเฟนทริน
(Bifenthrin) หรือ แอลฟา ไซเพอร์เมทริน (Alpha-Cypermethrin) ปักอัดลงไปใต้ดินก่อนขั้นตอนของการเทพื้น โดยยาฉีดปลวกเหล่านี้จะทำให้ดินรอบๆ บ้านมีสภาพที่เป็นพิษ ทำให้ปลวกไม่สามารถผ่านเข้ามาในอาณาเขตตัวบ้านได้ อีกทั้งยังตกค้างในดินได้นาน 3-5 ปี
ส่วนบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดปลวกที่ออกฤทธิ์แบบไม่ขับไล่ (Non Repellent Effect) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฟีนิลไพราโซล (phenylpyrazole) เช่น ฟิโพรนิว (Fipronil) หรือกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoids) ได้แก่ อิมิดาคลอพริด (Imidacloprid)
เมื่อปลวกงานสัมผัสหรือเดินผ่านเข้ามายังบริเวณที่มียาฆ่าปลวกจะไม่ตายทันที แต่สารเคมีนี้จะติดตามตัวปลวกไปจนถึงรังใต้ดิน เมื่อปลวกส่งผ่านอาหาร หรือสัมผัสกับปลวกตัวอื่นๆ ภายในรัง ก็จะทำให้พวกมันได้รับสารเคมีนี้ และแพร่กระจายไปทั่วรัง ซึ่งสารออกฤทธิ์ดังกล่าวจะไปยับยั้งกระบวนการลอกคราบของปลวก ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้และตายในที่สุด
อีกทั้งปลวกยังมีพฤติกรรมกินซากปลวกด้วยกันเอง ทำให้สารเคมีถูกแพร่กระจายต่อไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าหากพบปัญหาปลวก พยายามอย่าฉีดปลวกเอง หรือไปรบกวนทางเดินปลวก เพราะจะทำให้ปัญหาขยายวงกว้างไปอีก หากเกิดปลวกระบาดแล้วควรเลือกใช้ยาฉีดปลวกที่ออกฤทธิ์แบบไม่ขับไล่ปลวก (Non-Repellent Effect) เช่น สารเคมีในกลุ่มฟีนิลไพราโซล (phenylpyrazole) หรือสารเคมีในกลุ่มที่ยับยั้งการเจริญเติบโต (Insect Growth Regulator: IGR) ของปลวกแทน เช่น เฮกซาฟลูมูรอน (Hexaflumuron) ซึ่งเป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในระบบเหยื่อกำจัดปลวก
เมื่อปลวกสัมผัสหรือกินเหยื่อที่มีสารเคมีกำจัดปลวกดังกล่าวนี้เข้าไป จะไม่ทำให้ปลวกตายทันที แต่จะติดตัวปลวกกลับไปยังรังและเกิดการส่งผ่านของสารเคมีอย่างต่อเนื่องภายในรัง
กรณีสารเคมีในกลุ่ม (Insect Growth Regulator: IGR) นั้นจะออกฤทธิ์ทำให้ปลวกไม่สามารถลอกคราบได้และตายในที่สุด วิธีนี้จะเห็นผลภายใน 45-90 วัน ขึ้นกับขนาดของรังปลวกใต้ดิน
Tip: คำแนะนำจากเร็นโทคิล ก่อนเลือกใช้บริการจากบริษัทกำจัดปลวก ให้คุณสอบถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับยาฆ่าปลวกหรือสารออกฤทธิ์ที่ใช้ในการกำจัดปลวก เพื่อช่วยให้คุณทราบว่า บ้านของคุณนั้นควรใช้สารเคมีกำจัดปลวกประเภทใดจึงจะเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญคือ ในวันที่เจ้าหน้าที่มาทำบริการ ให้ตรวจสอบยาฆ่าปลวกที่เจ้าหน้าที่จะใช้ว่าเป็นขวดใหม่หรือเปล่า ใช้ตามปริมาณที่ได้แจ้งไว้หรือไม่
หากคุณไม่แน่ใจว่าบ้านของคุณมีปลวกระบาดหรือไม่ หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับยากำจัดปลวกเพิ่มเติม ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเร็นโทคิลได้ที่เบอร์ 02 290 8500 หรือกรอกฟอร์มด้านล่างนี้