© 2024 Rentokil Initial plc โดยอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขและข้อจำกัดของ กฎหมายกำหนด.
ในวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีได้ถูกจัดให้เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน (Asean Dengue Day) เพื่อเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับไข้เด็งกี่ หรือโรคไข้เลือดออก และยังระดมทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็น เงินทุน บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันและควบคุมโรค พร้อมแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ในการจัดการกับโรคนี้อย่างแท้จริง ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนประกอบด้วย บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
ไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เติบโตเร็วที่สุดชนิดหนึ่งในโลก โดยการติดเชื้อในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นร้อยละ 75 ของทั้งโลก ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อเลือดออกทั่วโลกราว 50 – 100 ล้านคนต่อปี ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกมีผู้ป่วยใน 31 ประเทศ จาก 37 ประเทศ และยังเป็นพื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยจากไข้เลือดออกตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
สำหรับประเทศไทย จากรายงานแนวโน้มการระบาดโรคไข้เลือดออกปี 2562 นี้มีจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยครึ่งปีแรกของปี 2562 มีผู้ป่วย 28,785 ราย มากกว่าปี 2561 ถึง 1.7 เท่า และพบผู้เสียชีวิต 43 ราย อัตราป่วยตายสูงกว่าปกติ คือ ร้อยละ 0.15
จากการขยายตัวทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วย และการแพร่กระจายของโรคเพิ่มสูงขึ้น มีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้น มีฝนตกหนักในแต่ละภูมิภาค จำนวนประชากรมีความหนาแน่นมากขึ้น มีการเดินทางของคนต่างชาติมากขึ้น รวมถึงมีการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งไข้เลือดออกนั้น ยังเป็นโรคที่ไม่มีวิธีการรักษาแบบเฉพาะ และยังไม่มีนวัตกรรมใดๆ ที่สามารถเข้าถึง และป้องกันตามชุมชนต่างๆ ได้
มากไปกว่านั้นเหมือนเรากำลังต่อสู้กับสงครามที่กำลังพ่ายแพ้ จากการขาดความตระหนักในหมู่คนไทย ที่ยังคงมีการทิ้งขยะไม่ถูกที่ ทิ้งขยะตามที่สาธารณะ และไม่ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ยิ่งจะนำไปสู่การเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงมากขึ้นเรื่อยๆ
เคล็ดลับการป้องกันยุงลายเบื้องต้น :