เราปกป้องบ้านและทรัพย์สินของคนไทยจากสัตว์รบกวนมามากกว่า 38 ปี
© 2023 เร็นโทคิล อินนิเชียล โดยอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขและข้อจำกัดของกฎหมายกำหนด.
เนื่องจากมนุษย์ขยายอาณาเขตเข้าไปในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมากขึ้น เราจึงยิ่งเข้าใกล้สัตว์ฟันแทะ และเชื้อโรคหลายสายพันธุ์มากยิ่งขึ้น
นอกจากหนูท่อและหนูบ้าน สัตว์ฟันแทะชนิดอื่นที่อาจนำโรคมาสู่มนุษย์ ได้แก่ หนูแพรี่ด็อก (Prairie Dogs) ตัวกราวน์ฮ็อก (Groundhogs) กระรอกดิน (Ground Squirrels) ตัวเลมมิ่ง (Lemmings) และตัวโวล (Voles)
อันที่จริงแล้ว สัตว์ฟันแทะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากกว่าสงครามที่เกิดขึ้นในรอบ 1,000 ปีมานี้เสียอีก
ซาลโมเนลลา เป็นแบคทีเรียที่มากับสัตว์ฟันแทะ ซึ่งทำให้มนุษย์เจ็บป่วยได้
เล็ปโตสไปโรสิส เป็นการติดเชื้อจากฉี่ของสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อเล็ปโตสไปรา (leptospira)
ประมาณ 10% ของผู้ที่ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรสิสจะเป็นโรคฉี่หนู
สัตว์ฟันแทะเป็นพาหะของเชื้อก่อโรคหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และพยาธิ (หนอน)
สัตว์ฟันแทะยังเป็นพาหะนำปรสิตและโรคหลายชนิดในเวลาเดียวกัน
สัตว์ฟันแทะ เป็นพาหะหรือแหล่งของโรคหลายชนิดซึ่งเกิดจากปรสิตภายนอก เช่น หมัด เห็บ เหา และไร รวมทั้งโรคบางชนิดที่ติดต่อผ่านยุง
โรคไข้หนูกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformis และ Spirillum minus โดยจะถ่ายทอดผ่านการกัด ฉี่ และอุจจาระของสัตว์ฟันแทะ
กาฬโรค เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะ หนูดำ
ฮันตาไวรัส เกิดจากการสัมผัสฉี่ น้ำลาย หรืออุจจาระของสัตว์ฟันแทะ
การศึกษาเรื่องหนูในฟาร์มในสหราชอาณาจักร พบปรสิต 13 ชนิดที่นำโรคสู่คน และอีก 10 ชนิดที่ไม่ติดต่อสู่คน โดยหนูบางตัวมีปรสิตถึง 9 ชนิดในเวลาเดียวกัน
ปรสิตหลายชนิดแทบไม่เคยมีการสำรวจพบในหนูป่า (เช่น คริปโตสปอริดิโอซิส (Cryptosporidium) พาสเจอเรลลา (Pasteurella) ลิสทีเรีย (Listeria) เยอร์ซิเนีย (Yersinia) ค็อกเซียลา (Coxiella) และ ฮันตาไวรัส (Hantavirus)) แสดงให้เห็นว่าอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์นั้นรุนแรงกว่าที่คาดไว้
โรคทูลารีเมีย เกิดจากไวรัส Francisella tularensis พบในสัตว์ฟันแทะและแมลง
บาร์โตเนลโลสิส เกิดจากแบคทีเรีย Bartonella ซึ่งติดต่อผ่านแมลงปรสิตที่อาศัยอยู่กับสัตว์ฟันแทะ
พยาธิตืดหนูมีสองชนิด คือ Hymenolepis nana และ H. diminuta ทั้งสองชนิดมีแมลงปีกแข็งจำพวกด้วงเป็นพาหะขั้นทุติยภูมิ
สัตว์ฟันแทะสามารถนำเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่ก่อโรคกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ การติดเชื้อเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของสัตว์ฟันแทะ
แหล่งเชื้อโรคที่ทำให้ติดเชื้อ มักเป็นอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของสัตว์ในฟาร์ม
การศึกษาพันธุกรรมของ Salmonella พบว่า มีความซับซ้อนมาก จึงทำให้ยากต่อการจำแนก โดยทราบกันว่ามีสองสายพันธุ์หลัก และมีสายพันธุ์ย่อยและชนิดย่อยจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า serovar
อาการจะปรากฏภายใน 12 ถึง 72 ชั่วโมงหลังจากติดเชื้อ โดยมีอาการดังนี
คนส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา นอกจากการทดแทนการขาดน้ำ
เมื่อติดเชื้อแล้ว เชื้อโรคสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายถ้าไม่รักษาความสะอาดหรือสุขอนามัยให้ดี
ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ NHS ของสหราชอาณาจักร แนะนำให้ทำความสะอาดโถรองนั่ง โถส้วม ที่กดน้ำ หัวก็อก และอ่างล้างมือหลังจากการใช้ด้วยน้ำร้อนและสารซักฟอก ตามด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ถึง 2545 เราสามารถจัดกลุ่มซาลโมเนลลาในมนุษย์ได้ 44,087 กลุ่ม และ 26,148 กลุ่มจากแหล่งอื่น โดย serovar ที่มักทำให้เกิดโรคซาลโมเนลโลสิสในประเทศไทย คือ Salmonella enterica Weltevreden serovar ซึ่งทำให้การติดเชื้อในประเทศไทยแตกต่างกับในประเทศอื่น และใกล้เคียงกับ serovar ในผลิตภัณฑ์อาหารและแหล่งอื่นๆ อีกด้วย
ไทฟอยด์
สายพันธุ์หนึ่งของ Salmonella คือ S. Typhi ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงและแพร่กระจายจากลำไส้ไปยังระบบเลือดและน้ำเหลือง และไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ไข้ไทฟอยด์
ไข้ไทฟอยด์ (ชื่อเต็ม Salmonella enterica subsp. enterica serovar Typhi) แพร่กระจายอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ซึ่งมีสุขอนามัยที่ไม่ค่อยดีนัก และมีผู้ติดเชื้อนี้ถึง 27 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในเด็ก
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ได้ จึงไม่มีแนวโน้มที่จะติดต่อผ่านหนู นอกจากหนูจะสัมผัสอุจจาระของมนุษย์โดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ในระบบท่อระบายของเสีย
ไทฟอยด์สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ โดยมีวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อ
เล็ปโตสไปโรสิส เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Leptospira โดยรับเชื้อจากฉี่ของสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ฟันแทะ วัว หมู และสุนัข
มนุษย์ติดเชื้อได้โดย
แบคทีเรียอาศัยอยู่ในไตของสัตว์และถ่ายเทเชื้อออกมาผ่านปัสสาวะ ซึ่งอยู่ในดินหรือน้ำได้นานนับสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน
แบคทีเรียนอกจากจะเข้าสู่ร่างกายทางปากแล้ว ยังสามารถผ่านทางผิวหนังได้ โดยเฉพาะผิวหนังที่เปิดจากรอยข่วนหรือบาดแผล และเยื่อเมือกบริเวณตา จมูก และปาก
เล็ปโตสไปโรสิส พบได้ทั้งในเขตภูมิอากาศอบอุ่นและเขตร้อน แต่จะพบมากในเขตร้อนและกึ่งร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อ
คนส่วนใหญ่มีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม ในอาชีพหรือกิจกรรมที่มีการสัมผัสกับสัตว์หรือแหล่งน้ำจืด จะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น
อาชีพและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
เล็ปโตสไปโรสิสจะแสดงอาการภายใน 7-14 วัน โดยจะมีไข้อ่อนๆ ไปจนถึงอาการหนักเหมือนไข้หวัดใหญ่ เช่น
สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ
คุณมีปัญหาหนูบ้านใช่หรือไม่? นี่คือวิธีการกำจัดพวกมัน
ศึกษาบริการกำจัดหนูท่อในบ้านคุณ
ประมาณ 10% ของผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรสิส จะพัฒนาเป็นโรคร้ายแรงขึ้น หรือที่เราเรียกว่า "โรคฉี่หนู" ซึ่งอาจนำไปสู่อาการอวัยวะล้มเหลว เลือดออกภายใน และเสียชีวิตได้
ต้องรักษาโดยด่วนในโรงพยาบาลที่มีเครื่องช่วยหายใจ เครื่องฟอกไต สามารถให้ยาปฏิชีวนะและของเหลวผ่านหลอดเลือดได้
ค้นพบวิธีป้องกันและควบคุมหนูท่อที่จะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น
เรียนรู้โรคอื่นๆ ที่คุณอาจติดจากหนู
โรคไข้หนูกัดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสองชนิดได้แก่ Streptobacillus moniliformis และ Spirillum minus
จะพบเชื้อในอุจจาระ ฉี่ สารคัดหลั่งจากปาก จมูก และตา ของสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อ
มักได้รับเชื้อผ่านการกัดหรือข่วนโดยหนูและสัตว์ฟันแทะอื่นๆ เช่น กระรอก หนูเจอร์บิล และอาจได้รับเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ดังกล่าว การรับประทานหรือดื่มเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระและฉี่ของสัตว์ฟันแทะ
อาการของโรคไข้หนูกัด แตกต่างไปตามเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมี 2 ชนิด
นอกจากนี้อาจมีอาการรุนแรง เช่น
การติดเชื้อทั้งสองชนิดสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
รายงานการเกิดโรคไข้หนูกัด พบน้อยมากในยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดให้รายงาน จึงอาจน้อยกว่าความเป็นจริง
คุณมีปัญหาหนูท่อใช่หรือไม่? นี่คือสัญญาณบ่งชี้
เรียนรู้เกี่ยวกับสถานีเหยื่อหนูจากเร็นโทคิล
กาฬโรค เป็นโรคดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับหนู มีประวัติการระบาดตลอดช่วงประวัติศาสตร์และทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การระบาดเกิดตามเส้นทางการเดินทาง ทั้งทางบกและการค้าขายทางทะเล จนไปสู่เขตเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
โรคนี้เกิดจากแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งถ่ายทอดกันระหว่างสัตว์ฟันแทะและหมัด สัตว์ฟันแทะหลายสายพันธุ์เป็นแหล่งสะสมระยะยาวของเชื้อแบคทีเรียกาฬโรคในธรรมชาติ
อาการของกาฬโรคแตกต่างกันตามการรับเชื้อ
กาฬโรคสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
จะต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในสองสัปดาห์
กาฬโรคในกระแสเลือด อาจทำให้เสียชีวิตก่อนปรากฏอาการ และสำหรับกาฬโรคปอด ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาทุกรายจะเสียชีวิต ในกรณีที่หมัดกัดหรือการเข้าไปในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรค จึงควรปรึกษาแพทย์
ศึกษาเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับหนูดำ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหมัด
สัตว์ฟันแทะหลายสายพันธุ์เป็นพาหะของฮันตาไวรัส โดยเฉพาะ ตัวโวลและหนู
สัตว์ฟันแทะหลายสายพันธุ์ เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสหลายชนิดที่มีความรุนแรงต่างกัน แต่จะแสดงอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน
มนุษย์สามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสปัสสาวะของสัตว์ฟันแทะ น้ำลาย อุจจาระ การสัมผัสอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน หรือสูดดมฝุ่นละอองที่มีเชื้อโรค
การติดเชื้อรุนแรง เกิดจากฮันตาไวรัสในประเทศจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และตะวันออกไกลของรัสเซีย โดยมีหนูนาเป็นพาหะของเชื้อโรค
ในยุโรป สัตว์พาหะหลักคือ ตัวแบงค์โวล (Bank Vole) เป็นพาหะของเชื้อ Puumala virus ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกที่มีอาการทางไตร่วม (HFRS) ชนิดไม่รุนแรง แต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยจำนวนมากในประเทศฟินแลนด์ ประเทศยูโกสลาเวียเดิม สวีเดน เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ และเนเธอร์แลนด์
ไวรัส Dobrava ก่อให้เกิดโรค HFRS ชนิดรุนแรง พบได้ในยุโรปตอนใต้ โดยมีหนูคอเหลือง (Yellow-necked mouse) เป็นพาหะ ส่วนชนิดไม่รุนแรงที่เกิดจากไวรัส Saaremaa ซึ่งมีหนูนาเป็นพาหะ มักพบในเอสโตเนียและบริเวณใกล้เคียงคือ รัสเซีย
พบฮันตาไวรัสหลายสายพันธุ์ในสัตว์ฟันแทะ ชนิดที่สำคัญที่สุด คือ ไวรัส Sine Nombre ซึ่งมีหนูเดียร์ (Deer mice) เป็นพาหะ พบในแคนาดา เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการปอดฮันตาไวรัส (Hantavirus pulmonary syndrome) ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูง
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฮันตาไวรัสและโรคอื่นๆ ที่มีสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะ
เรียนรู้วิธีสังเกตสัญญาณการระบาดของหนูท่อ
โรคทูลารีเมีย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Francisella tularensis โดยมีหลายสายพันธุ์และมีความรุนแรงต่างกัน อีกทั้งยังพบในสภาพภูมิประเทศที่ต่างกัน
ตามการจัดอันดับอนุกรมวิธาน ถูกจำแนกอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียในเซลล์แบบดั้งเดิม ซึ่งประกอบด้วย ลิสทีเรีย (Listeria) เลเจียเนลลา (Legionella) บรูเซลลา (Brucella) ค็อกเซียลา (Coxiella) และริคเก็ตเซีย (Rickettsia) แบคทีเรียเหล่านี้เป็นแบคทีเรียกที่แยกออกมาเป็นสาขาหนึ่งของแบคทีเรียดั้งเดิม ซึ่งมีเพียงสายพันธุ์เดียวในวงศ์ Francisellaceae: F. philomiragia. อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมอาจนำไปสู่การจำแนกอยู่ในสายพันธุ์ใหม่ได้
พบเชื้อในสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายบริเวณซีกโลกเหนือ
สัตว์พาหะ
โรคทูลารีเมีย ติดหรือนำพาโดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ขาปล้อง (Arthropod) หลายชนิด
สัตว์ฟันแทะ
สัตว์ฟันแทะ ที่เป็นพาหะของทูลารีเมีย ประกอบด้วย ตัวโวล (Voles) หนูบ้าน (Mice) หนูท่อ (Rats) มัสแครต (Muskrats) บีเวอร์ (Beavers) กระรอกดิน (Ground squirrels) เลมมิง (Lemmings) และหนูแฮมสเตอร์ (Hamsters) โดยกระต่ายป่า (Rabbits) และ กระต่ายบ้าน(Hares)
การแพร่กระจายสู่มนุษย์ สัมพันธ์กับจำนวนประชากรสัตว์ฟันแทะและกระต่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
เห็บและหมัด
พบแบคทีเรียในเห็บและหมัดหลายสายพันธุ์ โดยระดับของการติดเชื้อมีหลากหลาย ความสำคัญของแต่ละสายพันธุ์ต่อการติดเชื้อของมนุษย์จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนัก
ยุง
ในกลุ่มยุง สายพันธุ์ Aedes Culex และ Anopheles เป็นสายพันธุ์นำโรค
แมลงวันกัด
ในกลุ่มแมลงวันกัด เหลือบม้า (Tabanus spp. และ Chrysozona spp.) และเหลือบกวาง (Chrysops spp.) จะนำเชื้อโรคมาจากสัตว์พาหะและแพร่เชื้อโรคไปยังสัตว์ตัวอื่น
แบคทีเรียทูลารีเมีย เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางผิวหนัง ตา ปาก คอ หรือปอด ซึ่งเกิดจาก
ไม่พบการติดเชื้อจากคนสู่คน (ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบของการต่อสู้ทางชีวภาพ ซึ่งจำกัดการติดเชื้อสู่ประชากรเป้าหมาย) หรือการส่งผ่านเชื้อโดยตรงจากมนุษย์สู่มนุษย์ผ่านสัตว์ขาปล้อง (หมัด เห็บ ยุง และแมลงวันชนิดที่กัด)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการติดโรคอาศัยเพียงแบคทีเรียจำนวนน้อย จึงทำให้พบโรคนี้ได้ค่อนข้างมาก
อาการทูลารีเมียแตกต่างกันไปตามวิธีการได้รับเชื้อ แต่ทุกชนิดทำให้มีไข้
จะมีอาการต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคชนิดอื่น เนื่องจากโรคนี้พบได้ค่อนข้างน้อย
ทูลารีเมีย ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด หากไม่ได้รับการรักษา โรคอาจกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ม้าม ตับ และระบบต่อมน้ำเหลือง
A rat bite causing skin to breakout and infected
Source: Wikimedia commons: CDC
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tularemia_lesion.jpg
เรียนรู้วิธีการป้องกันไม่ให้หนูบ้านเข้าในพื้นที่ของคุณ
คุณมีปัญหาหนูท่อใช่หรือไม่? นี่คือสัญญาณบ่งชี้
บาร์โตเนลโลสิส เกิดจากแบคทีเรีย Bartonella หลายสายพันธุ์ และจำนวนไม่น้อยใช้สัตว์ฟันแทะเป็นพาหะ โดยก่อให้เกิดอาการหลายรูปแบบ
โรคจะติดต่อระหว่างสัตว์ผ่านสัตว์ขาปล้อง (Arthropod) เช่น เห็บ หมัด แมลงวันทราย เหา และยุง
สายพันธุ์ของเชื้อโรคที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ B. Quintana ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เทรนช์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แพร่กระจายผ่านเหาลำตัว (Body Louse) สายพันธุ์นี้ไม่เป็นที่ทราบว่ามีสัตว์ตัวกลางนำโรค อย่างไรก็ตาม โรคแมวข่วนเกิดจากแบคทีเรีย Bartonella หลายสายพันธุ์เช่นกัน
เชื้อ Bartonella elizabethae พบในหนูแถบอเมริกา เอเชีย และยุโรป ส่วนอีกหลายสายพันธุ์ที่มีผลต่อมนุษย์พบใน กระรอกดิน (ground squirrels) และ หนูเดียร์ (deer mice) ในประเทศไทย คนไข้ที่ติดเชื้อจะมีอาการหัวใจอักเสบ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) และโรคตา (โรคจอประสาทตา)
สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
โรคทอกโซพลาสโมซิส เป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii
หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ประเมินว่ากว่า 22% ของประชากรได้รับเชื้อ ขณะที่หน่วยงานระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ในสหราชอาณาจักร ประเมินว่ามีประชากรมากกว่า 350,000 รายที่ติดเชื้อนี้
สัตว์พาหะหลักคือ แมว แต่พบว่ามีสัตว์ฟันแทะและสัตว์ขนาดเล็กเป็นพาหะตัวกลางด้วย
ติดต่อสู่คนผ่านการปนเปื้อนอุจจาระแมว เนื้อดิบ และผัก
พยาธิตืดหนู มี 2 ชนิด คือ Hymenolepis nana และ H. diminuta ทั้งสองสายพันธุ์มีแมลงปีกแข็งจำพวกด้วง (เช่น มอดแป้ง) เป็นสัตว์พาหะทุติยภูมิ ซึ่งพบในเขตอากาศอบอุ่นทั่วโลก
H. nana เป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลายที่สุด โดยมีลักษณะต่างจากหนอนพยาธิชนิดอื่น คือ สามารถมีชีวิตตลอดวงจรในลำไส้ของมนุษย์และแพร่จากคนสู่คนผ่านไข่พยาธิในอุจจาระ มันจะเกาะผนังลำไส้และดูดซึมสารอาหารผ่านเยื่อบุผนังลำไส้
มนุษย์ติดโรคพยาธิผ่านการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ประเภทด้วงและหนู หรือผ่านการสัมผัสผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อน แล้วนำเข้าไปในร่างกายด้วยมือ
วงจรชีวิตพยาธิตืดหนู แสดงไว้ใน แผนภูมิโดยกองควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา (US CDC)
การติดเชื้อเล็กน้อยอาจไม่ทำให้เกิดโรค แต่การติดเชื้อรุนแรง ทำให้เกิดอาการเหล่านี้
การติดเชื้ออาจไม่เกิดโรคในผู้ใหญ่ แต่จะเกิดปัญหารุนแรงในเด็ก
เรียนรู้วิธีสังเกตสัญญาณการระบาดของหนูท่อ
เรียนรู้เกี่ยวกับสถานีเหยื่อหนูจากเร็นโทคิล
โรคพยาธิไฮดาติด เกิดจากพยาธิตัวตืด Echinococcus หลายสายพันธุ์ มีสัตว์กินเนื้อเป็นพาหะ เช่น สุนัขจิ้งจอก (foxes) หมาป่าไคโยตี (coyotes) และหมาป่า (wolves) โดยสัตว์พาหะตัวกลางส่วนใหญ่คือ สัตว์กินหญ้าและหมู
พยาธิตัวตืด อย่างน้อยสามสายพันธุ์มีสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก เช่น หนู ตัวโวล และเลมมิ่ง เป็นสัตว์พาหะตัวกลาง ซึ่งส่งต่อถุงซิสต์ที่เป็นตัวอ่อนพยาธิไปยังแมวและสุนัขที่กินสัตว์เหล่านี้ โดยตัวอ่อนพยาธิก็จะถูกส่งต่อไปยังมนุษย์ผ่านอุจจาระของแมวและสุนัขอีกทอดหนึ่ง
เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ตัวอ่อนจะเติบโตออกมาจากถุง เจาะไชผนังลำไส้ และผ่านเข้าสู่ระบบโลหิตไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะในตับและปอด ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ได้ไม่จำกัดและทำลายเนื้อเยื่อรอบๆ
อาจไม่ปรากฏอาการนานนับปี จนกระทั่งเนื้อเยื่อที่มีพยาธิ เกิดเป็นก้อนโตเหมือนเนื้องอก
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ฟันแทะหลายสายพันธุ์ที่อาจทำความเสียหายให้บ้านคุณ
ศึกษาบริการกำจัดหนูบ้าน
โรคหนอนพยาธิแคพพิลาเรีย เกี่ยวข้องกับสัตว์ฟันแทะ เกิดจากพยาธิสายพันธุ์ nematode (พยาธิตัวกลม) ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Capillaria hepatica วงจรชีวิตพยาธิตัวกลมมีความพิเศษคือ มันอาศัยสัตว์ตัวเดียวและจะกระจายไข่เพื่อขยายพันธุ์ก็ต่อเมื่อสัตว์ตัวนั้นตาย
สัตว์ฟันแทะเป็นแหล่งอาศัยหลักของพยาธิชนิดนี้ แต่มันสามารถอาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นได้เช่นกัน รวมทั้งมนุษย์ด้วย
การติดเชื้อเริ่มจากการเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหาร น้ำ และดินที่ปนเปื้อนไข่พยาธิใน "สภาวะสิ่งแวดล้อม”
พยาธิตัวกลมตัวเต็มวัย อาศัยกินธาตุอาหารในตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานไปทีละน้อย เกิดการอักเสบ (ตับอักเสบ) และเกิดความผิดปกติในการสร้างเนื้อเยื่อ เมื่อตับตอบสนองต่อการตายของตัวเต็มวัยและไข่ที่พยาธิวางไว้
Bonnefoy X, Kampen H, Sweeney K. Public Health Significance of Urban Pests. WHO, Copenhagen, 2008
WHO. A global brief on vector-borne diseases, WHO, Geneva, 2014
http://www.who.int/campaigns/world-health-day/2014/global-brief/en/
US CDC: www.cdc.gov
Wikipedia: https://en.wikipedia.org
UK NHS: www.nhs.uk
PARA-SITE http://parasite.org.au/
Webster JP, Macdonald DW (1995). Parasites of wild brown rats (Rattus norvegicus) on UK farms. Parasitology, 111:247–255. doi:10.1017/S0031182000081804.
Epidemic Typhus Associated with Flying Squirrels — United States.
www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/00001177.htm
Medscape: Rickettsialpox
http://emedicine.medscape.com/article/227956-overview
WHO guidelines on Tularemia, 2007
http://apps.who.int/iris/handle/10665/43793
The Center for Food Security and Public Health, Iowa State University
http://www.cfsph.iastate.edu/DiseaseInfo/factsheets.php
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ฟันแทะที่พยายามบุกเข้าบ้านคุณ