เครื่องดักแมลงวันด้วยแสงไฟ (ILT)
อีกขั้นของเครื่องดักแมลงวันด้วยนวัตกรรมหลอดไฟแบบ LED ที่จดทะเบียนสิทธิบัตรของเร็นโทคิล
สาขาบริการ
สัตว์รบกวน
ปลวก
แมลงบิน
แมลงคลาน
สัตว์ฟันแทะ และอื่นๆ
ธุรกิจของคุณ
ธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร
ธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับอาหาร
ทำไมต้องเร็นโทคิล ?
บริการของเรา
สำหรับธุรกิจ/ อุตสาหกรรม
สำหรับบ้านที่อยู่อาศัย
บริการเฉพาะทาง
บริการเสริม
แมลงวัน
สำรวจพื้นที่ฟรี ที่เบอร์ 02 290 8500 หรือ ติดต่อเรา
เราปกป้องบ้านและทรัพย์สินของคนไทยจากสัตว์รบกวนมามากกว่า 36 ปี
พนักงานบริการทุกคนได้รับการอบรมและผ่านการรับรองในการกำจัดสัตว์รบกวน
นวัตกรรมการกำจัดปลวกและสัตว์รบกวนของเรามีประสิทธิภาพสูง
มีการกล่าวอ้างมากมายถึงประสิทธิภาพของเครื่องดักแมลงแบบช็อตไฟฟ้า (Electric Fly Killer) แบบดั้งเดิมที่อยู่ในท้องตลาด ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเหล่าผู้ประกอบการและธุรกิจทั้งหลายที่จะเลือกเครื่องดักแมลงแบบไหน ให้เหมาะสมกับธุรกิจตัวเอง
ยิ่งเรากำจัดแมลงวันได้มากเท่าไร ความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคที่มากับแมลงวัน เช่น เชื้อชิเกลลา หรือ ซาลโมเนลลา ก็ถูกกำจัดได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น
จากการศึกษาและวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์ของเร็นโทคิล ได้ข้อสรุปว่าการใช้เทคโนโลยีหลอดไฟยูวี แบบ LED ในเครื่องดักแมลงวันนั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องดักแมลงอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อดีของเทคโนโลยีหลอดไฟยูวี แบบ LED
อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ จึงลดจำนวนการเปลี่ยนหลอดไฟในแต่ละปีได้อีกด้วย
จากการศึกษาและวิจัยประสิทธิภาพของเครื่องดักแมลงหลายต่อหลายครั้ง โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของเร็นโทคิล ที่สหราชอาณาจักร พบ 2 ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
จากการค้นพบครั้งนี้ ทำให้เราสามารถพัฒนา เครื่องดักแมลงลุมเนีย รุ่นใหม่ล่าสุด ด้วยการผสานเทคโนโลยีหลอดไฟยูวี แบบ LED ที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการดักจับแมลงวัน
หลอดไฟยูวี แบบ LED สามารถกระจายแสง UV-A และส่งผ่านไปยังบริเวณโดยรอบได้ดี เพื่อดึงดูดสายตาของแมลง เช่น แมลงวันบ้าน ได้มากกว่าหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบดั้งเดิม
แมลงวันบ้าน มีสายตาที่ไวต่อแสง UV-A เนื่องจากแสงดังกล่าวอยู่ในช่วงความยาวคลื่นแสงอยู่ในช่วงที่ตาของแมลงวันมองเห็น ประมาณ 365 นาโนเมตร
แสงที่อยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้นั้น จะดึงดูดแมลงวันได้ดีกว่าแสงที่มนุษย์มองเห็น
ปรากฏการณ์เคลื่อนที่เข้าหาแสง (Phototaxis) นั้น สามารถอธิบายพฤติกรรมของแมลงที่ชอบบินเข้าหาแสงได้
แมลงบางชนิด เช่น แมลงสาบ หรือ ไส้เดือน จะเคลื่อนที่หนีออกจากแสง แต่ในขณะเดียวกันยังมีแมลงอีกหลายชนิด ที่มีพฤติกรรมเคลื่อนที่เข้าหาแสงโดยอัตโนมัติ เช่น แมลงเม่า แมลงวัน เป็นต้น
แสงสว่างสำหรับแมลงบางชนิด หมายถึง สัญญาณที่บ่งบอกถึงความปลอดภัย เนื่องจากแหล่งกำเนิดแสงมักจะอยู่สูงจากพื้นดิน ด้วยสัญชาตญาณของแมลง จึงมักจะบินพุ่งตรงไปที่แสง เพราะเชื่อว่าการบินเข้าหาแสงนั้นจะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายที่อยู่ด้านล่าง
ยังมีอีกหนึ่งทฤษฎีที่สนับสนุนความเชื่อที่ว่า แมลง นั้นใช้แสงไฟเป็นตัวช่วยในการนำทาง คือ
แมลงบางประเภทมีพฤติกรรมบินไปทางทิศเหนือ โดยตัดสินใจเลือกทิศจากแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์ ซึ่งมักอยู่ทางขวามือเสมอ ทฤษฎีนี้จะยังคงใช้ได้ดี ตราบเท่าที่แหล่งกำเนิดแสงยังคงตำแหน่งและระยะทางเท่าเดิม
หากแมลง พบแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ เช่น แสงจากหลอดไฟ พวกมันจะสับสน และบินใกล้ๆ บริเวณหลอดไฟ จากพฤติกรรมนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมผีเสื้อกลางคืนถึงชอบบินอยู่รอบๆ หลอดไฟ ก็เพราะพวกมันต้องการใช้แสงเป็นหลักนำทางนั่นเอง
ยังคงมีประเด็นถกเถียงกันในแวดวงวิทยาศาตร์ ถึงสาเหตุว่าทำไมแมลงส่วนใหญ่มักบินเข้าหาแสงจากหลอดไฟมากกว่าแสงไฟจากธรรมชาติ
นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า แมลงไม่จำเป็นต้องบินเข้าหาแสงไฟเสมอไป เว้นเสียแต่ว่าพวกมันอยู่ในที่มืด
ขณะที่อีกด้านหนึ่งกลับมองว่า ดวงตาของแมลง มีลักษณะเป็นเลนส์จำนวนมาก ทำให้ยากต่อการปรับการมองเห็นจากที่สว่างไปยังที่มืด ทำให้แมลงเหมือนตาบอดแสงในที่มืด และตกเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าอื่นๆ ได้ง่าย ดังนั้น แมลงจึงมีพฤติกรรมบินเข้าหาแสงไฟเพื่อความปลอดภัยของพวกมัน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของเร็นโทคิลที่สหราชอาณาจักร ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องดักแมลง โดยเปรียบเทียบกันระหว่างเครื่องดักแมลง รุ่นลุมเนีย กับเครื่องดักแมลงรุ่นทั่วไป โดยเรียกการทดสอบครั้งนี้ว่า "การวัดค่าครึ่งชีวิต" (The half-life measure)
ซึ่งเครื่องดักแมลงทุกรุ่นของเร็นโทคิล จะต้องถูกทดสอบด้วยเช่นกัน
การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องดักแมลงด้วยการวัดค่าครึ่งชีวิต (Half-life measure) นั้นช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องดักแมลงได้อย่างชัดเจน
กราฟที่ 1 แสดงค่าครึ่งชีวิตของเครื่องดักแมลงแต่ละเครื่อง
จะเห็นได้ว่าเครื่องดักแมลง รุ่นลุมเนีย (กราฟสีแดง) ใช้เวลาน้อยที่สุดในการดักจับแมลงวันภายในห้องทดลองให้ลดลงได้ 50%
กราฟที่ 2 แสดงเวลาที่ใช้และอัตราการดักจับแมลงวันให้ลดลง 50%
เส้นสีฟ้า แสดงอัตราร้อยละของการดักจับเมื่อเทียบกับเวลา
เส้นสีแดง แสดงเวลาที่สามารถดักจับแมลงวันภายในห้องทดลองให้ลดลงได้ 50%
การทดสอบของเร็นโทคิลนั้น ใช้แมลงวันบ้านจำนวน 100 ตัว (Musca domestica) โดยนำมาปล่อยในห้องปิดที่ได้ติดตั้งเครื่องดักแมลงเอาไว้ โดยทีมนักวิจัยของเร็นโทคิลได้ติดตามและเก็บข้อมูลการดักจับแมลงให้ห้องดังกล่าวทุกๆ 7 ชั่วโมง
กระบวนการการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องดักแมลงนี้ถูกทดลองซ้ำอย่างน้อย 6 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่ได้ถูกต้อง แม่นยำ และชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้งานจริงของเครื่อง
การทดสอบแบบ half-life measure แสดงให้เห็นถึงเวลาที่ถูกใช้ไปในการดักจับแมลงภายในห้องให้ลดลงได้ 50%
ยิ่งใช้เวลาน้อย แสดงว่าเครื่องดักแมลงยิ่งมีประสิทธิภาพมาก